โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร

Excellence Center for Comprehensive Cancer, King Chulalongkorn Memorial Hospital

ดูแลรักษาโรคมะเร็งและที่เกี่ยวข้องแบบครบวงจร

การรับผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการรักษาในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีแนวโน้มจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี และเนื่องจากธรรมชาติของมะเร็งมีความซับซ้อน การบำบัดรักษาจึงต้องอาศัยวิธีบูรณาการร่วมกันหลายด้าน ทำให้การรักษาของศูนย์ฯ แห่งนี้ ได้คัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิผลสูงสุด

พันธกิจ

  1. บริการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งและที่เกี่ยวข้องแบบครบวงจร ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ชั้นสูง โดยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งเน้นศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ
  2. บริการงานอบรม การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคมะเร็ง ในรูปแบบผสมผสาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง การฝึกอบรมระดับนานาชาติ
  3. ดำเนินการวิจัยด้านโรคมะเร็ง และผลงานวิจัยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
  4. พัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในการวินิจฉัย การรักษา การพยากรณ์โรค และการทำนายผลการตอบสนองต่อการรักษาและนำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาล

เจตจำนง

ศูนย์มะเร็งแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน

ภาระหน้าที่

  1. บริการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งและที่เกี่ยวข้องแบบครบวงจร ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ชั้นสูง โดยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งเน้นศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ
  2. บริการงานอบรม การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคมะเร็ง ในรูปแบบผสมผสาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมระดับนานาชาติ
  3. ดำเนินการวิจัยด้านโรคมะเร็ง และผลงานวิจัยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
  4. พัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในการวินิจฉัย การรักษา การพยากรณ์โรค และการทำนายผลการตอบสนองต่อการรักษาและนำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาล

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  1. งานบริหารจัดการรายโรคมะเร็ง (Disease Management)
    • บริหารจัดการ จัดทำขั้นตอนการดำเนินงานและรายละเอียดการดำเนินงาน ให้บริการประเมินสภาพผู้ป่วย ประเมินทางเลือกการดูแลรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ป่วย แต่ละรายภายใต้ระบบสิทธิประกันสุขภาพ ดูแลประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อการดูแลระหว่างจุดต่อของการบริการ เน้นการลื่นไหลของแผนการดูแลรักษาพยาบาล ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติในเรื่องพยาธิสภาพของโรค, ยา, ผลข้างเคียงการรักษา, การปฏิบัติตัวก่อน – หลัง ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด, ยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา เป็นเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน ประสานงานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง
  2. งานทะเบียนมะเร็ง (Tumor Registry)
    • จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานฯ ร่วมกันวางแผน วางระบบ และดำเนินการจัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ของโรงพยาบาล เพื่อสามารถจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลทั่วไป ประวัติการรักษา ผลการตรวจรักษา และระบบการติดตามการตรวจรักษา นอกจากนั้นยังพัฒนาระบบการเชื่อมข้อมูลการถ่ายโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นๆ มายังฐานข้อมูลผู้ป่วยกลาง และการเรียกใช้ข้อมูลทั้งในจากส่วนกลางและแต่ละคลินิกรักษามาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และข้อมูลเป็นปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาและการวิจัย
  3. การเบิกจ่ายค่ารักษาโรคมะเร็ง (Reimbursement)
    • บริหารจัดการ จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน และดำเนินการลงทะเบียน – ส่งข้อมูลประกอบการเบิกจ่ายยารักษาโรคมะเร็งที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งกรณีรายใหม่ – รายเก่า (กรณีต่ออายุใบขออนุมัติ) และยกเลิกการขออนุมัติ วางแผนการทำงานเป็นระบบ กำกับให้สามารถดำเนินการลงทะเบียน และส่งข้อมูลประกอบการเบิกจ่ายยาครบถ้วน ถูกต้อง และทันรอบเวลาที่กำหนด รวมทั้งอุทธรณ์กรณีโรงพยาบาลถูกปฏิเสธการชดเชย ค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็ง
  4. งานบริการวิชาการแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ (Academic)
    • บริหารจัดการ วางแผนงาน และดำเนินการจัดโครงการ จัดประชุม จัดอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการประจำปี เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและความก้าวหน้าด้านการดูแลรักษาโรคมะเร็งให้กับแพทย์และ บุคลากรทางการแพทย์ทั้งในและนอกสถาบัน อีกทั้งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  5. ศูนย์จุฬายีนโปร (Chula GenePRO Center)
    • ให้บริการตรวจยีนมะเร็งอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ด้วยความเอื้ออาทรเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ทันสมัยในการตรวจยีนมะเร็งเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงการตรวจ การรักษาที่ทันสมัยและดีที่สุด บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เกื้อกูลและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  6. หน่วยวิจัยเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง (Cellular Immunotherapy Research Unit)
    • วิจัย พัฒนา และผลิตเซลล์บำบัดที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ

หน่วยงานสนับสนุน และฝ่ายที่ให้ความร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ร่วมพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ดังนี้

  1. ฝ่ายศัลยศาสตร์
  2. ฝ่ายรังสีวิทยา หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  3. ฝ่ายอายุรศาสตร์
  4. ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา
  5. ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์
  6. ฝ่ายออโธปิดิกส์
  7. ฝ่ายสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดูแลรับผิดชอบหน่วยงาน ดังนี้ 

  1. งานบริหารจัดการรายโรค (Disease Management)
  2. ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Care) (อาคารล้วน-เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 4)
  3. ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Care) (อาคารอาทรชั้น 1)
  4. ศูนย์ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง (Cancer Immunotherapy)  
  5. ศูนย์จุฬายีนโปร (Chula Gene Pro)
  6. งานทะเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง (Tumor Registry)   
  7. งานเบิกจ่ายค่ารักษาโรคมะเร็ง (Reimbursement)
  8. งานบริหารศูนย์ฯ (Administration)

การให้บริการของศูนย์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจรแห่ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้คัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery) เครื่องฉายแสง เครื่อง MRI รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยครบรอบด้าน มีการให้คำแนะนำตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ อีกทั้งยังส่งเสริมสุขภาพระหว่างการรักษา และติดตามสุขภาพผู้ป่วยเมื่อจบการรักษาแล้ว เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างครบวงจร เพราะผู้ป่วยควรมีสิทธิการรักษาอย่างเท่าเทียม ได้มาตรฐานและครอบคลุมด้วยสิทธิการรักษาอย่างดีที่สุด

อีกทั้งได้มีการลงนามเป็นสถาบันพี่น้อง (Sister Institution) กับ MD Anderson Cancer Center สถาบันผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งระดับโลก ที่เมืองฮุสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างสถาบัน จัดประชุมวิชาการ ทั้งด้านงานวิจัยและด้านงานบริการทางการแพทย์ และมีการพัฒนางานบริการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้าง “โครงข่ายข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็ง” สำหรับแต่ละโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถให้บริการผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาศักยภาพในการผลิตยารักษาโรค โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. ยาเคมีบำบัดหรือที่เรียกกันว่า คีโม (Chemotherapy) มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการของโรค              
  2. ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) มีฤทธิ์ในการมุ่งรักษาเฉพาะจุด ทำให้ผลข้างเคียงลดลง
  3. ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) มีฤทธิ์ในการปลดล็อกการซ่อนตัวของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ภูมิคุ้มกันร่างกายสามารถเข้าไปกำจัดได้

ซึ่งทางศูนย์ฯ ให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นอย่างมากเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพท์โรคมะเร็งครบวงจร

  1. งานบริหารจัดการรายโรค งานทะเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง งานเบิกจ่ายค่ารักษาโรคมะเร็ง งานบริหารศูนย์ฯ

เปิดบริการทุกวันราชการ เวลา 8.00 – 16.00 น. ณ อาคารอาทร ชั้น 2

 

  1. ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Care)

เปิดบริการทุกวันราชการ เวลา 8.00 – 16.00 น. ณ อาคารล้วน-เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 4

 

  1. ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Care)

เปิดบริการทุกวันราชการ เวลา 8.00 – 16.00 น. ณ อาคารอาทร ชั้น 1

 

  1. ศูนย์จุฬายีนโปร

เปิดบริการทุกวันราชการ เวลา 8.00 – 17.00 น. ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 6 โซน C

 

  1. หน่วยวิจัยเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง

เปิดบริการทุกวันราชการ เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ อาคารมงกุฏ – เพชรรัตน์ ชั้น 12 – 13

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 3425 หรือ 3729

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับออกหน่วยตรวจคัดกรองโรคตับ

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2562 ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลกและพระครูหิรัญประชามานิตย์ ได้ร่วมออกหน่วยในโครงการศูนย์ฯ โรคตับสัญจร ครั้งที่ 1

กิจกรรมการอบรมวิชาการเรื่อง “Chula STROKE IN CLINICAL PRACTICE 2023” สำหรับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์

อบรมวิชาการเรื่อง “Chula STROKE IN CLINICAL PRACTICE 2023” จัดโดย ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

งานเสวนาวิชาการ โครงการ “รู้ทันมะเร็งเต้านม ครั้งที่ 7”

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานเสวนาวิชาการ โครงการ “รู้ทันมะเร็งเต้านม ครั้งที่ 7” ไขข้อข้องใจสารพันปัญหาของมะเร็งเต้านมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์