โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง

Excellence Center for Advanced Therapy Medicinal Products

สถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ด้วยมาตรฐาน GMP

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Excellence Center for Advanced Therapy Medicinal Products , EC-ATMPs ) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ 2001/2560 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 โดยศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อและวัสดุทางการแพทย์ฝังใน เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในการรักษาผู้ป่วย ด้วยผลิตภัณฑ์การแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เช่น เซลล์และอวัยวะที่สร้างจากห้องปฏิบัติการ เนื้อเยื่อที่สร้างโดยเครื่องพิมพ์สามมิติ วัสดุทางการแพทย์แบบฝังในร่างกายสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย และวัสดุเพื่อซ่อมแซมบาดแผลให้หายอย่างรวดเร็ว ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง มีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการรักษาพยาบาล ผ่านการยกระดับเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ซึ่งจะนำประเทศก้าวไปสู่การแข่งขันระดับโลก

ผลงานที่ภาคภูมิใจของศูนย์

Layout  ของห้อง Clean Room (ห้องสะอาด) ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2562

เจตจำนง

สร้างผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงด้วยมาตรฐาน GMP เพื่อให้ผู้ป่วยชาวไทยได้เข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม

ภาระหน้าที่

  1. ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงของประชาชนชาวไทย
  2. บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไปให้เข้าถึงการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงในราคาถูก (one-to-many products) และผู้ป่วยเฉพาะรายที่ต้องการรักษาซ่อมแซมเนื้อเยื่อและอวัยวะที่รักษาให้หายยาก (one-to-one products)
  3. ดำเนินการวิจัย พัฒนา ค้นคว้า วิธีการรักษา สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์การรักษาใหม่ด้านอวัยวะและเนื้อเยื่อ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงระดับ Pre-clinical Prototype ต้องได้มาตรฐานคุณภาพ GLP (Good Laboratory Practice ) 
  4. มีห้องปฏิบัติการสำหรับการผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูงระดับ Clinical Prototype ต้องได้มาตรฐานไม่ต่ำกว่า Pilot Scale-GMP (Good Manufacturing Practice) 

ภารกิจ

  1. พัฒนาและค้นคว้าวิธีการรักษา สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์รักษาใหม่ด้านอวัยวะและเนื้อเยื่อด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาล โดยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพทั้งด้านแพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
  2. บริหารงานอบรมและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับบัณฑิตศึกษา ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ 

นวัตกรรมของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ประกอบด้วย

  1. ผลิตภัณฑ์จากเซลล์และเนื้อเยื่อ 
  2. ผลิตภัณฑ์ด้านโพลีเมอร์เพื่อการฝังใน
  3. ผลิตภัณฑ์ที่รวมเซลล์เข้ากับชีววัสดุ

การให้บริการ

  1. บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไปให้เข้าถึงการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงแบบทั่วไป (one-to-many products) และผู้ป่วยเฉพาะรายที่ต้องการรักษาซ่อมแซมเนื้อเยื่อและอวัยวะที่รักษาให้หายยาก (one-to-one products)
  2. เผยแพร่ความรู้ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมและวิศวกรรมเนื้อเยื่อแก่สังคม

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 9 โซน C

ในเวลาราชการ 08.30 – 16.30 น.

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 80981

บทความที่เกี่ยวข้อง

ASIA PACIFIC RESUSCITATION

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดการประชุมวิชาการด้านเวชบำบัดวิกฤตประจำปี ครั้งที่ 4 “ASIA PACIFIC RESUSCITATION NURSES CONFERENCE”

งานเสวนาโรคมะเร็งในวัยรุ่น (Teenagers with cancer) ครั้งที่ 2

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดเสวนาเรื่อง โรคมะเร็งในวัยรุ่น (Teenagers with cancer) ครั้งที่ 2

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับออกหน่วยตรวจคัดกรองโรคตับ

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2562 ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลกและพระครูหิรัญประชามานิตย์ ได้ร่วมออกหน่วยในโครงการศูนย์ฯ โรคตับสัญจร ครั้งที่ 1

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์