การรับผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการรักษาในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีแนวโน้มจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี และเนื่องจากธรรมชาติของมะเร็งมีความซับซ้อน การบำบัดรักษาจึงต้องอาศัยวิธีบูรณาการร่วมกันหลายด้าน ทำให้การรักษาของศูนย์ฯ แห่งนี้ ได้คัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิผลสูงสุด
พันธกิจ
- บริการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งและที่เกี่ยวข้องแบบครบวงจร ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ชั้นสูง โดยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งเน้นศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ
- บริการงานอบรม การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคมะเร็ง ในรูปแบบผสมผสาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง การฝึกอบรมระดับนานาชาติ
- ดำเนินการวิจัยด้านโรคมะเร็ง และผลงานวิจัยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
- พัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในการวินิจฉัย การรักษา การพยากรณ์โรค และการทำนายผลการตอบสนองต่อการรักษาและนำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาล
เจตจำนง
ศูนย์มะเร็งแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน
ภาระหน้าที่
- บริการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งและที่เกี่ยวข้องแบบครบวงจร ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ชั้นสูง โดยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งเน้นศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ
- บริการงานอบรม การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคมะเร็ง ในรูปแบบผสมผสาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมระดับนานาชาติ
- ดำเนินการวิจัยด้านโรคมะเร็ง และผลงานวิจัยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
- พัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในการวินิจฉัย การรักษา การพยากรณ์โรค และการทำนายผลการตอบสนองต่อการรักษาและนำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาล
ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน
- งานบริหารจัดการรายโรคมะเร็ง (Disease Management)
- บริหารจัดการ จัดทำขั้นตอนการดำเนินงานและรายละเอียดการดำเนินงาน ให้บริการประเมินสภาพผู้ป่วย ประเมินทางเลือกการดูแลรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ป่วย แต่ละรายภายใต้ระบบสิทธิประกันสุขภาพ ดูแลประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อการดูแลระหว่างจุดต่อของการบริการ เน้นการลื่นไหลของแผนการดูแลรักษาพยาบาล ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติในเรื่องพยาธิสภาพของโรค, ยา, ผลข้างเคียงการรักษา, การปฏิบัติตัวก่อน – หลัง ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด, ยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา เป็นเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน ประสานงานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง
- งานทะเบียนมะเร็ง (Tumor Registry)
- จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานฯ ร่วมกันวางแผน วางระบบ และดำเนินการจัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ของโรงพยาบาล เพื่อสามารถจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลทั่วไป ประวัติการรักษา ผลการตรวจรักษา และระบบการติดตามการตรวจรักษา นอกจากนั้นยังพัฒนาระบบการเชื่อมข้อมูลการถ่ายโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นๆ มายังฐานข้อมูลผู้ป่วยกลาง และการเรียกใช้ข้อมูลทั้งในจากส่วนกลางและแต่ละคลินิกรักษามาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และข้อมูลเป็นปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาและการวิจัย
- การเบิกจ่ายค่ารักษาโรคมะเร็ง (Reimbursement)
- บริหารจัดการ จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน และดำเนินการลงทะเบียน – ส่งข้อมูลประกอบการเบิกจ่ายยารักษาโรคมะเร็งที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งกรณีรายใหม่ – รายเก่า (กรณีต่ออายุใบขออนุมัติ) และยกเลิกการขออนุมัติ วางแผนการทำงานเป็นระบบ กำกับให้สามารถดำเนินการลงทะเบียน และส่งข้อมูลประกอบการเบิกจ่ายยาครบถ้วน ถูกต้อง และทันรอบเวลาที่กำหนด รวมทั้งอุทธรณ์กรณีโรงพยาบาลถูกปฏิเสธการชดเชย ค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็ง
- งานบริการวิชาการแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ (Academic)
- บริหารจัดการ วางแผนงาน และดำเนินการจัดโครงการ จัดประชุม จัดอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการประจำปี เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและความก้าวหน้าด้านการดูแลรักษาโรคมะเร็งให้กับแพทย์และ บุคลากรทางการแพทย์ทั้งในและนอกสถาบัน อีกทั้งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- ศูนย์จุฬายีนโปร (Chula GenePRO Center)
- ให้บริการตรวจยีนมะเร็งอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ด้วยความเอื้ออาทรเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ทันสมัยในการตรวจยีนมะเร็งเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงการตรวจ การรักษาที่ทันสมัยและดีที่สุด บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เกื้อกูลและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- หน่วยวิจัยเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง (Cellular Immunotherapy Research Unit)
- วิจัย พัฒนา และผลิตเซลล์บำบัดที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ
หน่วยงานสนับสนุน และฝ่ายที่ให้ความร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ร่วมพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ดังนี้
- ฝ่ายศัลยศาสตร์
- ฝ่ายรังสีวิทยา หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
- ฝ่ายอายุรศาสตร์
- ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา
- ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์
- ฝ่ายออโธปิดิกส์
- ฝ่ายสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดูแลรับผิดชอบหน่วยงาน ดังนี้
- งานบริหารจัดการรายโรค (Disease Management)
- ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Care) (อาคารล้วน-เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 4)
- ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก (Day Care) (อาคารอาทรชั้น 1)
- ศูนย์ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง (Cancer Immunotherapy)
- ศูนย์จุฬายีนโปร (Chula Gene Pro)
- งานทะเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง (Tumor Registry)
- งานเบิกจ่ายค่ารักษาโรคมะเร็ง (Reimbursement)
- งานบริหารศูนย์ฯ (Administration)
การให้บริการของศูนย์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจรแห่ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้คัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery) เครื่องฉายแสง เครื่อง MRI รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยครบรอบด้าน มีการให้คำแนะนำตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ อีกทั้งยังส่งเสริมสุขภาพระหว่างการรักษา และติดตามสุขภาพผู้ป่วยเมื่อจบการรักษาแล้ว เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างครบวงจร เพราะผู้ป่วยควรมีสิทธิการรักษาอย่างเท่าเทียม ได้มาตรฐานและครอบคลุมด้วยสิทธิการรักษาอย่างดีที่สุด
อีกทั้งได้มีการลงนามเป็นสถาบันพี่น้อง (Sister Institution) กับ MD Anderson Cancer Center สถาบันผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งระดับโลก ที่เมืองฮุสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างสถาบัน จัดประชุมวิชาการ ทั้งด้านงานวิจัยและด้านงานบริการทางการแพทย์ และมีการพัฒนางานบริการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้าง “โครงข่ายข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็ง” สำหรับแต่ละโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถให้บริการผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาศักยภาพในการผลิตยารักษาโรค โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
- ยาเคมีบำบัดหรือที่เรียกกันว่า คีโม (Chemotherapy) มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการของโรค
- ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) มีฤทธิ์ในการมุ่งรักษาเฉพาะจุด ทำให้ผลข้างเคียงลดลง
- ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) มีฤทธิ์ในการปลดล็อกการซ่อนตัวของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ภูมิคุ้มกันร่างกายสามารถเข้าไปกำจัดได้
ซึ่งทางศูนย์ฯ ให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นอย่างมากเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพท์โรคมะเร็งครบวงจร
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2550-2554
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2555
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2556
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2557
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2558
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2559
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2560
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2561
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2562
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2563
- หนังสือสถิติทะเบียนมะเร็ง ประจำปี 2564