รศ.นพ.ชลเกียรติ ขอประเสริฐ
หัวหน้าศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และนายกสมาคมรังสี่รักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย
“แสงแห่งความหวัง”
พลังแห่งการสร้างโอกาส
ในการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง
“แสงแห่งความหวัง”โครงการรักษาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการมพทธ์ขั้นสูงเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 มีเป้าประสงสงค์เพื่อช่วยเหลือด้วยให้มีโอกาพเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับโรค คณะแพทย์ของโรงพยายาพจฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยทั้ง 4 โครงการจึงมีความภารในการเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยของโรงพยาลจุฬาลงกรณ์ สามารามารถเข้าถึงโอกาสในการรักษาด้วยเทคโลยีทางการแพทย์ชั้นสูงที่มีประสิทธิภาพซึ่งเอื้อประโยชน์แก่คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในทุกมิติ
โครงการรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยเครื่องเอกซเรย์กิโลโวลต์ มาเป็นรังสีแกมมาจากเครื่องโคบอลต์-60 จนถึงรังสีเอกซ์พลังสูงและลำอิเล็กตรอน ก่อนจะยกระดับมาสู่ “เครื่องเร่งอนุภาคโปรตอน” ซึ่งปัจจุบันได้การยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่แม่นยำที่สุดของการรักษาโรคมะเร็งในอวัยวะจุดสำคัญ ทั้งยังลดภาวะแทรกช้อนรุนแรงอันเกิดจากรังสีได้เป็นอย่างดี
รศ.นพ.ชลเกียรติ ขอประเสริฐ หัวหน้าศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และนายกสมาคมรังสังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าปัจจุบันการรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอนมีความแม่นยำสูงมากในการรักษาโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งในอวัยวะจุดที่สำคัญและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยรังสีรุนแรง ได้แก่ มะเร็งบริเวณตา สมอง ฐานสมอง ไขสันหลัง ตับ โพรงอากาศข้างจมูก เส้นประสาทสมอง หลังเยื่อบุช่องท้อง มะเร็งศีรษะและลำคอที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ มะเร็งเด็ก มะเร็งในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากรังสี และมะเร็งที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีซ้ำเป็นครั้งที่สอง ซึ่งการฉายรังสีแบบปกติ (รังสีเอกซ์) ในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกช้อนที่รุนแรง ทำให้แพทย์รังสีรักษาจำเป็นต้องลดปริมาณรังสีในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตน้อยลง เนื่องจากปริมาณรังสีดำไปจนไม่สามารถควบคุมโรคได้
“ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็งด้วยรังสีแม่นยำ ปลอดภัย ผลข้างเคียงต่ำ”
“รังสีมีทั้งประโยชน์และโทษ ด้านหนึ่งสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ แต่อีกด้านหนึ่งถ้ารังสีไปโดนอวัยวะส่วนอื่น ๆ มากเกินไปก็จะมีผลข้างเคียงเยอะ รังสีเอกซ์นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมือนแสงไฟที่เราส่องไปในน้ำบริเวณผิวน้ำก็จะได้รับแสงเยอะ แต่จะค่อย ๆ อ่อนค่าลงเมื่อเราใช้วิธีฉายรังสีเข้ารอบตัว ปริมาณรังสีก็เสียงที่จะโดนอวัยวะข้างเคียง เราจึงเปลี่ยนมาใช้อนุภาคโปรตอนซึ่งเป็นประจุบวกที่เล็กมาก ถ้าตั้งความเร็วที่เหมาะสมมันจะวิ่งทะลุเข้าไปในร่างกายเราแล้วไปหยุดที่ก้อนมะเร็งด้วยความแม่นยำกว่า โดยแทบจะไม่มีรังสีส่วนเกินไปทำลายอวัยวะอื่น ๆ เลย”
ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคโปรตอนเครื่องแรกในประเทศไทยและในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ “ไซโคลทรอน” (cyclotron) ทำหน้าที่เร่งอนุภาคโปรตอนให้มีความเร็วสูงถึง 2 แสนกิโลเมตรต่อวินาที คิดเป็น 2 ใน 3 เท่าของความเร็วแสง เพื่อให้ได้พลังงานสูงก่อนถูกลำเลียงไปใช้รักษาผู้ป่วย (ไซโคลทรอนแต่ละเครื่องจะมีชื่อเรียกเฉพาะของตัวเองไซโคลทรอนในเครื่องโปรตอนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีชื่อว่า “DANA”)
“ไซโคลทรอนเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนมาก เหมือนโรงงานที่ใช้ไฟฟ้ากำลังสูงมาก ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งอนุภาคโปรตอนให้มีความเร็วตามที่เราต้องการและสามารถกำหนดทิศทางได้อย่างแม่นยำว่าจะส่งอนุภาคโปรตอนไปยังตำแหน่งไหนในร่างกายของมนุษย์เครื่องเร่งอนุภาคโปรตอนดังกล่าวนี้มีราคาแพงมากเครื่องละประมาณ 1,200 ล้านบาท มีเฉพาะในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ญี่ปุ่น สหรัอเมริกา รวมถึงหลายประเทศในยุโรป แต่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โชคดีมากที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีให้การส่งเสริมอย่างเต็มที่ทำให้เราสามารถมีเครื่องมือรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ดีที่สุดของโลกในเวลานี้”
เพิ่มโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม
ในฐานะหัวหน้าศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รศ.นพ.ชลเกียรติ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า โครงการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการแพย์ขั้นสูง ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีความเสียงสูงและซับซ้อน รวมถึงผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สามารถเข้าถึงการรักษาได้จำนวนทั้งสิ้น 72 คนภายในระยะเวลาแค่ 3 เดือน
“โครงการนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอนแทบไม่มีผลข้างเคียงเลย สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถือเป็นความหวังที่ดีมาก ๆ สำหรับพวกเขา ต้องชื่นชมผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่สนับสนุนให้นำเอาเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย มีศักยภาพและประสิทธิภาพมารักษาผู้ป่วยอย่างดีที่สุด เพื่อช่วยเหลือให้ทุกคนได้เข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียม”
โครงการแสงแห่งความหวัง จุดประกายความหวังใหม่ให้ผู้ป่วยในปีนี้ “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภาชากาดไทยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร แต่มีพันธกิจหลักคือ ให้การรักษาผู้ป่วยให้หายดีภายใต้คุณธรรม จริยธรรม เราพบว่ายังมีผู้ป่วยในโครงการหลายคนที่ยากไร้จริง ๆ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยโปรตอน สุดท้ายแล้วก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ โดยผ่านโครงการนี้ เรียกว่าเป็นความหวังใหม่สำหรับเขาจริง ๆ”