เมื่อวันพุธที่ 17 เมษายน 2567 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ ศูนย์กู้ชีพ ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน พร้อมด้วยทีมแพทย์ พยาบาล ร่วมแถลงข่าวถึงภารกิจสำคัญในความร่วมมือ โครงการ “รักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง” ณ ห้องประชุม 1201 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ นำโดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.นพ.จุล นำชัยศิริ ศัลยแพทย์ทรวงอก หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อ.นพ.พีระพัฒน์ มกรพงศ์ ศัลยแพทย์ทรวงอก เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก ผศ.นพ.วิทวัส ลออคุณ หัวหน้าหน่วยกุมารโรคหัวใจ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อ.พญ.กัญญลักษณ์ วิเทศนสนธิ กุมารแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก อ.นพ.ธนดล โรจนศานติกุล หัวหน้าศูนย์กู้ชีพ ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งโครงการ “รักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง”เป็นความร่วมมือระหว่าง สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก, มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก และ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สปป. ลาว และโรงพยาบาลมะโหส
โครงการนี้เริ่มหารือครั้งแรกกับฝ่ายลาวเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ในโอกาสที่ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก (School of Global Health) และผู้ช่วยเลขาธิการเอกอัครราชทูตฯ เพื่อต่อยอด โครงการจัดการอบรมเฉพาะด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กในระยะวิกฤต (Pediatric Intensive Care) สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงมีโอกาสหารือกับ น.พ.ไคสี ลาดซะวง รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะโหสด (ดูแลผู้ป่วยเด็กและฉุกเฉิน) และทราบว่าโรงพยาบาลมะโหสด เป็นศูนย์โรคหัวใจเฉพาะทางแห่งเดียวของ สปป. ลาว ซึ่งยังต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาโรคหัวใจเด็ก โดยเฉพาะการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจเด็ก
สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงติดต่อกับ น.พ.พีระพัฒน์ มกรพงศ์ กรรมการและเลขานุการของมูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็กและหารือกับ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬลงกรณ์สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก นำมาสู่การริเริ่มโครงการรักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขงด้วยการสนับสนุน อย่างเต็มกำลังจากทุกหน่วยงานข้างต้น
คณะทำงานได้เริ่มประชุมหารือตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2566 เพื่อขับเคลื่อนโครงการนี้ ทีมแพทย์ออกหน่วยตรวจคัดกรองผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566 คัดกรองผู้ป่วยเด็ก จำนวน 92 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ มี 37 ราย ที่มีความจำเป็นต้องนำไปผ่าตัดรักษาที่ประเทศไทย โดยมี 3 ราย ที่มีความจำเป็นต้องนำไปผ่าตัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนคณะแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และทีมงาน Global Health ได้หารือกับคณะแพทย์ของโรงพยาบาลมะโหสดเรื่องแนวทางความร่วมมือและการสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของ สปป.ลาว ให้สามารถผ่าตัดหัวใจเด็กได้ภายใน 5 ปี ในเบื้องต้น คณะแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยเห็นว่า ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก และพิจารณาเรื่องการให้ทุนแก่บุคลากรเพื่อเพิ่มพูนทักษะสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กและทุนการศึกษาสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไปอย่างเต็มกำลังจากทุกหน่วยงานข้างต้น
สรุปผลการดำเนินงานถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยที่เข้าคิวผ่าตัดจำนวน 37 ราย (เสียชีวิตระหว่างรอผ่าตัด 2 ราย) ผ่าตัดแล้วที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 2 ราย ผ่าตัดแล้วที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น 27 ราย อัตราการรอดชีวิต 100% รอผ่าตัดอีก 11 ราย
ผู้ป่วยเด็กรายล่าสุดขณะนี้อายุ 1 ปี 1 เดือน พร้อมที่จะเดินทางกลับในวันที่ 18 เมษายน 2567 โดยจะเดินทางกลับไปที่นครหลวงพระบาง ซึ่งขณะผู้ป่วยอาการคงที่ และสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้และน่าจะมีความปลอดภัยสูงสุด จึงจะเดินทางพร้อมทีมแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสายการบินบางกอกแอร์เวย์