นับตั้งแต่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 งานบริการผู้ป่วยกุมารเวชกรรมได้เปิดดำเนินการภายใต้แผนกอายุรกรรม ซึ่งในขณะนั้น ให้บริการรักษาผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต่อมา เมื่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2490 จึงได้มีการก่อตั้งแผนกกุมารเวชกรรมขึ้น ในด้านการบริหารจัดการ ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสภากาชาดไทยก็ใช้ชื่อว่า “แผนกกุมารเวชกรรม (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น “ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์”) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะแพทยศาสตร์ ก็ใช้ชื่อเรียกเป็น “ภาควิชากุมารเวชศาสตร์”
เมื่อมีการจัดตั้งแผนกกุมารฯ ในระยะแรก สำนักงานของภาควิชาฯ อยู่ที่ชั้นล่างของอาคารแก้ว อัศวานนท์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารเอลิสะเบธ จักรพงษ์) ต่อมา มีการโยกย้ายสถานที่ไปหลายแห่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้ย้ายหอผู้ป่วยเด็กและภาควิชาฯ มาที่อาคาร สก. จนถึงปัจจุบัน
ในช่วงระยะเวลา 70 กว่าปีที่ผ่านมา ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อก้าวไปสู่การเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่เป็นผู้นำในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งในด้านการเรียนการสอน การบริการผู้ป่วย การบริการวิชาการแก่สังคม และการวิจัย ในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์
เจตจำนง
เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม และสร้างมาตรฐานระดับนานาชาติในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์
ภาระหน้าที่
ผลิตบัณฑิต กุมารแพทย์ กุมารแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางการแพทย์และวิชาการเพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติและนานาชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความภูมิใจในสถาบัน
ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ ประกอบด้วยสาขาวิชาเฉพาะทาง 16 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
- สาขาวิชาโรคภูมิแพ้ อิมมูนวิทยาและโรคข้อ
- สาขาวิชาโรคระบบหายใจ
- สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ
- สาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์และเมตะบอลิสม
- สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
- สาขาวิชาตจวิทยา
- สาขาวิชาโรคระบบต่อมไร้ท่อ
- สาขาวิชาโรคระบบประสาทวิทยา
- สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็ง
- สาขาวิชาโรคไต
- สาขาวิชาโรคหัวใจ
- สาขาวิชาโภชนาการ
- สาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต
- สาขาวิชาผู้ป่วยนอก
- สาขาวิชากุมารเวชบำบัดวิกฤต
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยวิจัยที่จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการทุนส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก (Center of Excellence in Clinical Virology) หัวหน้าศูนย์ : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
- ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ (Center of Excellence for Medical Genomics) หัวหน้าศูนย์ : ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
- ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคติดเชื้อและวัคซีน (Center of Excellence for Pediatric Infectious Diseases and Vaccines) หัวหน้าศูนย์ : ศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ
- ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กไทย (Center of Excellence for Maximizing Children’s Developmental Potential) หัวหน้าศูนย์ : ศ.นพ.วีระศกดิ์ ชลไชยะ
- ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก (Center of Excellence for Allergy and Clinical Immunology) หัวหน้าศูนย์ : ผศ.พญ.นริศรา สุรทานต์นนท์
- ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหาร ตับ และภูมิคุ้มกันวิทยาในเด็กไทย (ไทยประกาย) (Center of Excellence in Thai Pediatric Gastroenterology, Hepatology and Immunology (TPGHAI)) หัวหน้าศูนย์ : รศ.พญ.พลิตถิยา สินธุเสก
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์
- ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ
หน่วยปฏิบัติการวิจัย ได้แก่
- หน่วยปฏิบัติการวิจัยกุมารเวชศาสตร์โภชนาการ (Pediatric Nutrition Research Unit) โดย ศ.ดร.พญ.ศิรินุช ชมโท
- หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการบูรณาการและนวัตกรรมทางโลหิตวิทยาและมะเร็งเด็ก (Integrative and Innovative Hematology/Oncology Research Unit) โดย ศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล
- หน่วยปฏิบัติการวิจัยการจัดการคุณภาพอากาศในอาคาร (HAUS IAQ Research Unit) โดย รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี