โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ศูนย์บริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยผู้ป่วย

Risk Management and Patient safety center

จัดระบบบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ หน่วยงาน และองค์กรเกิดความปลอดภัยที่ยั่งยืน

ปี พ.ศ.2545 – พ.ศ.2550 ผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีนโยบายให้เริ่มมี หน่วยงานภายใน ที่รับผิดชอบและทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ภายใต้ชื่อ “ งานบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยผู้ป่วย ” ปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยงร่วมกับทุกหน่วยงานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคาร ภปร.ชั้น 18 ห้อง 1808 ซึ่งการปฏิบัติงานมีการขยายออกอย่างกว้างขวางตามลำดับ จนกระทั่งในวันที่ 10 มกราคม  พ.ศ. 2556 ได้รับอนุมัติจากสภากาชาดไทย ตามคำสั่งสภากาชาดไทย ที่ 54 / 2556 อนุมัติจัดตั้งเป็นศูนย์บริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยผู้ป่วย (Risk Management and Patient safety center)

พันธกิจ

  1. บริหารจัดการระบบบริหารความเสี่ยง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล
  2. บริหารจัดการข้อร้องเรียนของผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ ด้านการบริการ การรักษาพยาบาล และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. บริหารจัดการด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยด้วยสันติวิธี เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
  4. สนับสนุนสถิติข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ และข้อร้องเรียน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการพัฒนางาน ด้านวิชาการ และการวิจัย

ภารกิจหน่วยงานที่สนับสนุน

  1. บริหารจัดการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (incident report) โดยการออกแบบระบบการรายงาน การรวบรวมจัดทำสถิติข้อมูล วิเคราะห์สถิติแนวโน้ม การป้อนกลับ (feedback) และนำเสนอผู้บริหารโรงพยาบาล คณะกรรมการ ฝ่าย/ศูนย์ หน่วยงานต่าง ๆของโรงพยาบาล
  2. สนับสนุนและรวบรวมข้อมูล การดำเนินงานวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root cause analysis) ของหน่วยงาน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ ให้เกิดความปลอดภัยแบบยั่งยืน แก่ผู้ป่วยและผู้ใช้บริการ   
  3. บริหารจัดการคำร้องเรียนของผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ องค์กรภายนอก โดยรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา ทำความเข้าใจปัญหา แก้ไขอย่างรวดเร็ว และประสานทำความเข้าใจกับ ผู้ร้องเรียนเพื่อลดข้อกังวลในเบื้องต้น  
  4. จัดทำบันทึกรายงานข้อร้องเรียน แจ้งฝ่ายที่เกี่ยวข้องปัญหานั้น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ตลอดทั้งการปรับปรุงบริการ โดยติดตามให้มีการชี้แจงตอบกลับมาเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจให้ข้อมูล กับผู้ร้องเรียนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร     
  5. ส่งเสริม สนับสนุน และบริหารจัดการให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยกับโรงพยาบาลด้วยสันติวิธี       
  6. อำนวยความสะดวก ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามข้อตกลง ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ และด้านมนุษยธรรม รวมทั้งนโยบายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย    
  7. สนับสนุนสถิติข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ และข้อร้องเรียน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการพัฒนางาน ด้านวิชาการ และการวิจัยของบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะแพทยศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 14

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์บริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยผู้ป่วย

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 64419 ถึง 64426

บทความที่เกี่ยวข้อง

งานเสวนา โรคระบบทางเดินอาหารและตับ ครั้งที่ 6 “เลือกกินอย่างไร ดีต่อใจ ดีต่อทางเดินอาหาร”

หน่วยโรคทางเดินอาหาร ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่อง “เลือกกินอย่างไร ดีต่อใจ ดีต่อทางเดินอาหาร” เพื่อป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเอง

วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สภากาชาดไทย วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต

บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด และบริษัทในเครือบีไอเอสกรุ๊ป มอบเงินบริจาค

บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด และบริษัทในเครือบีไอเอสกรุ๊ป มอบเงินบริจาค เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์