ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เดิมเป็นหน่วยประชาสัมพันธ์ เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ขึ้นอยู่กับแผนกเลขานุการ ต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น หน่วยประชาสัมพันธ์ จึงเปลี่ยนเป็น “ฝ่ายประชาสัมพันธ์” ตามคำสั่งสภากาชาดไทยที่ 1518/2550 ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา
หัวหน้าฝ่ายที่กำกับดูแลพันธกิจนี้มาแล้วจนถึงปัจจุบัน ตามรายนาม ดังนี้
- นางสาววนิดา ลาวัลกุล หัวหน้าหน่วยประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2525 – 2529
- นางสาวจงวดี ฉัตรรุ่งเรือง หัวหน้าหน่วยประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2529 – 2550
- นางสาวจงวดี ฉัตรรุ่งเรือง หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2556
- นายธีรพร ยินเจริญ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน
พันธกิจ
ให้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ว่าด้วยการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์และการแนะนำบริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ผ่านช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นช่องทางการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรต่อไปอย่างยั่งยืน
เจตจำนง
ทันสถานการณ์ ถูกต้อง เหมาะสม ตรงเวลา สวยงาม
ภาระหน้าที่
การดำเนินงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การบริการและองค์ความรู้ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้สอดคล้องไปตามวิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กร ก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีและสามารถเข้าถึงการให้บริการขององค์กรแก่กลุ่มเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
โครงสร้างของฝ่ายประชาสัมพันธ์
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อยู่ภายใต้การบริหารงานและดูแลโดยผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านภาพลักษณ์องค์กร และมีหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งประกอบด้วย 2 หน่วยงานย่อยในการดำเนินงานตามพันธกิจของฝ่ายฯ ที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
1. งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
2. งานแนะนำบริการและการสื่อสาร
- ศูนย์โทรศัพท์ (Operator)
ผศ.พญ.สุรัญชนา เลิศศิริโสภณ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้านสื่อสารองค์กร
การให้บริการของฝ่ายประชาสัมพันธ์
1. งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ดังนี้
1.1 ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม ประกาศ และองค์ความรู้ต่างๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในโรงพยาบาล รวมถึงสื่อมวลชนทุกแขนง และ Social Media อาทิ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต, โทรทัศน์, วิทยุ, สื่อสิ่งพิมพ์, สื่ออิเล็กทรอนิกส์, Facebook Fan Page, Instagram, Twitter, Line, Youtube, ป้ายไวนิล, จอ LED, รวมทั้งการรณรงค์เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินและสิ่งของสมทบเข้าโครงการต่าง ๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และในวาระสำคัญต่าง ๆ
1.2 ประสานงานการบันทึกภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ แพทย์ ผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ควบคุมดูแลการบันทึกภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ ตลอดการถ่ายทำภายในโรงพยาบาลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ภายใต้กฎระเบียบ และ PDPA
1.3 จัดเตรียมงานแถลงข่าว
1.4 ต้อนรับสื่อมวลชนและแก้ไขปัญหากรณีเร่งด่วน เมื่อมีเหตุการณ์ต่าง ๆ
1.5 จัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ที่จะทำการประชาสัมพันธ์ทางด้านการเขียนสคริปวิทยุ และโทรทัศน์
1.6 ดูแลจัดทำ Website รพ.จุฬาฯ และวารสารภายในโรงพยาบาล รวมทั้งหนังสือที่ระลึกในวาระพิเศษต่าง ๆ
1.7 บันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภายในโรงพยาบาล ดูแล และผลิตสื่อวิดิทัศน์
2. งานแนะนำบริการและการสื่อสาร
งานศูนย์โทรศัพท์ (Operator)
- ปฏิบัติงานด้านสื่อสารทางโทรศัพท์ มีหน้าที่รับสายภายนอก (Incomimg) รับสายภายใน (Internal) บริการต่อสายภายนอก (Outgoing)
- Call Center ให้บริการข้อมูลข่าวสาร การประชุม กิจกรรมพิเศษ ประสานงานโอนสายในการบริการข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสภากาชาดไทย
- การประกาศเสียงตามสาย และการประกาศ Code ต่าง ๆ Code CPR 155, Code CPR EID, Code ดาวม่วง, Code อัคคีภัย, Code สาธารณภัย, Code EID
- การติดต่อประสาน และให้ข้อมูลงานแพทย์เวร
- การสื่อสารประชาสัมพันธ์ตามวาระในการใช้แผนงานต่าง ๆ อาทิ Code CPR 155 ,Code CPR EID, Code ดาวม่วง, Code อัคคีภัย, Code EID แผนสาธารณภัย, การรับแจ้งเพลิงไหม้ – เหตุด่วน เหตุร้าย ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงการประสานงานรับผู้ป่วย VVIP และอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย