โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายจักษุวิทยา

Department of Ophthalmology

เพื่อให้คนไทยได้รับการดูแลเรื่องสายตาอย่างครบวงจรและมีคุณภาพสูงสุด

ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เริ่มต้นขึ้น นับตั้งแต่มีมติเปลี่ยนสถานะแผนกวิชาจักษุวิทยาเป็นฝ่ายจักษุวิทยา ในปี พ.ศ. 2511 จากนั้นทางฝ่ายยังได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วย ทั้งแผนกผู้ป่วยนอก
ผู้ป่วยใน และห้องผ่าตัดให้ทันสมัย โดยฝ่ายจักษุวิทยาได้มีการเพิ่มจำนวนห้องผ่าตัดเป็น 8 ห้อง สำหรับหอผู้ป่วยใน ปัจจุบันได้ย้ายมาที่อาคาร
ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และแผนกผู้ป่วยนอก ได้ย้ายมาประจำการอยู่ ณ อาคาร ส.ธ. นอกเหนือจากการปรับสถานที่เพื่อให้รองรับกับจำนวนผู้มารับบริการที่เพิ่มขึ้นแล้ว เรายังได้มีการพัฒนาความพร้อมของอุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยโรคตาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ในส่วนของธุรการของฝ่าย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 16

สำหรับความภาคภูมิใจของฝ่าย คือ การได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณหน่วยงานเครือข่ายช่วยการจัดหาและบริการดวงตาด้าน “การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตามากที่สุดประจำปี” จากสภากาชาดไทยและหน่วยงานเครือข่าย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน

เจตจำนงและภาระหน้าที่

เป็นสถาบันจักษุวิทยา ที่บูรณาการบริการ วิจัย และการเรียนการสอน เพื่อเป็นต้นแบบด้านจักษุวิทยาในระดับนานาชาติ

ฝ่ายจักษุวิทยา มีการแบ่งหน่วยย่อยออกเป็น 9 หน่วย ได้แก่

  1. หน่วยกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา
  2. หน่วยต้อหิน
  3. หน่วยจอประสาทตาและวุ้นตา
  4. หน่วยจักษุวิทยาตกแต่งและเสริมสร้าง
  5. หน่วยจักษุวิทยาเด็กและกล้ามเนื้อตา
  6. หน่วยจักษุประสาทวิทยา
  7. หน่วยจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบ
  8. หน่วยเลนส์สัมผัสและสายตาเลือนราง
  9. หน่วยจักษุพยาธิวิทยา

และยังมีศูนย์ที่ดำเนินงานภายใต้การดูแลของภาควิชา อีก 2 ศูนย์ ได้แก่

  1. ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ
  2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการให้บริการการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคกระจกตา

ศ.พญ.วสี ตุลวรรธนะ
หัวหน้าฝ่ายจักษุวิทยา

การให้บริการของฝ่ายจักษุวิทยา

ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีทีมจักษุแพทย์ บุคลากร และเทคโนโลยีชั้นนำที่มีความพร้อมมากที่สุดในระดับประเทศ และในระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคขั้นสูงในการผ่าตัดต้อกระจก การพัฒนาการรักษาด้านจอประสาทตา การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาต้อหิน และเทคโนโลยีในการรักษาต่าง ๆ เช่น การรักษาโรคกระจกตาด้วยสเต็มเซลล์ เป็นต้น นอกจากนี้ ฝ่ายจักษุวิทยายังได้ร่วมก่อตั้งหน่วยประสาทศาสตร์ โดยผนึกกำลังกันระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอื่น ๆ เพื่อยกระดับการรักษาในโรคที่เกี่ยวข้องกับประสาทให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้มีการจัดตั้งทีมหน่วยวิจัยต้อหิน และหน่วยวิจัยจอประสาทตา ที่ได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนางานวิจัยและต่อยอดงานบริการออกสู่สังคมอีกด้วย

ด้านการศึกษาและฝึกอบรม ทางฝ่ายมีความพร้อมด้านการเรียนการสอนเพื่อผลิตจักษุแพทย์ที่มีคุณภาพสำหรับประเทศไทย และจักษุแพทย์เฉพาะทางอีก 6 สาขา มีการ
เตรียมความพร้อมสู่เป้าหมายที่จะเป็นผู้นำด้านจักษุวิทยาในระดับภูมิภาค โดยมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดในระดับสูง พร้อมทั้งเปิดโครงการอบรมในระดับนานาชาติเพื่อประกาศตัวเป็น International Training Center ในด้านเทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยและการผ่าตัดผู้ป่วยทางจักษุ

นอกจากเป้าประสงค์ที่จะยกระดับสู่ความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคแล้ว มิติของการรับใช้สังคมก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยทางฝ่ายได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกหน่วยให้บริการรักษา ทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ โดยร่วมกับสภากาชาดไทยเพื่อให้ความช่วยเหลือที่ประเทศภูฏาน 2 ปีติดต่อกัน

แผนกการให้บริการผู้ป่วยนอก (Out Patient Department : OPD)

อาคาร สธ.(ศูนย์ผู้สูงอายุ) ชั้น 13 และ 14
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
ติดต่อทำนัด เลื่อนนัด สอบถามการบริการการรักษา
เบอร์โทร 02-256-4000 ต่อ 70102 (ชั้นล่าง) , 71301 (ชั้น 13) , 71401 (ชั้น 14)

 

ห้องผ่าตัดเล็ก (Minor Operating Theater)

อาคาร สธ.(ศูนย์ผู้สูงอายุ) ชั้น 14
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
เบอร์โทร 02-256-4000 ต่อ 71401

 

ห้องผ่าตัดหลัก

อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 8 โซฺน B
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
เบอร์โทร 02-256-4000 ต่อ 80825

 

หน่วยให้บริการนัดผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก (Ophthalmic Ambulatory Care Unit)

อาคาร สธ.(ศูนย์ผู้สูงอายุ) ชั้น 13
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 16.30 – 20.00 น.
เบอร์โทร 02-256-4000 ต่อ 71309

 

หอผู้ป่วยใน

อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 15 โซน A
เวลาเยี่ยมผู้ป่วย ทุกวัน เวลา 10.00 – 20.00 น.
เบอร์โทร 02-256-4000 ต่อ 81506 และ 81507

 

คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ

อาคาร สธ.(ศูนย์ผู้สูงอายุ) ชั้น 14
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 16.30 – 20.00 น.
และ เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
ติดต่อทำนัด เลื่อนนัด สอบถามการบริการการรักษา
เบอร์โทร 02-256-5197

 

ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ

อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 18 โซน C
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.00 น.
เบอร์โทร 02-256-4000 ต่อ 81875, 064-180-6908

 

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (การเรียนการสอน)

อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 16
ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.00 น.
ติดต่อ สมัคร Resident, Fellow โทร 02-256-4000 ต่อ 61637,
ติดต่อ Elective นักศึกษาแพทย์ โทร. 02-256-4000 ต่อ 61634,
ติดต่อ Elective แพทย์ประจำบ้าน โทร. 02-256-4000 ต่อ 61632,

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายจักษุวิทยา อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 16

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 61632-37

 

เว็บไซต์หน่วยงาน

https://ophthalmology.md.chula.ac.th/

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทริอาช The Series มอบเงินบริจาค

ทริอาช The Series มอบเงินบริจาค สมทบทุนช่วยโครงการผ่าตัด โรคหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

มอบแว่นตากันแดด

บริษัท สมาร์ท วิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมกับ บริษัท นำศิลปไทย จำกัด มอบแว่นตากันแดด เพื่อถนอมดวงตาให้กับผู้ป่วยต้อกระจก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 100 อัน

งานแถลงข่าวคลินิกสุขภาพเพศ

กิจกรรมแถลงข่าวการเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นในหัวข้อ “Paradigm Shift in Transgender Health Care” สะท้อนมุมมองและความต้องการของบุคคลข้ามเพศ

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์