โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

คลินิกบริบาลสุขภาพที่บ้าน

Home Visit Clinic

มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำทางการพยาบาลในระดับสากล

พันธกิจ

  1. ผลิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในการบริบาลปฐมภูมิ
  2. ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้นำและผู้ให้บริการในระบบสุขภาพปฐมภูมิเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ
  3. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริบาลปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว ทั้งในด้านการวิจัยและการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน
  4. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้พัฒนาการดูแลสุขภาพของประชาชน ตลอดจนเพื่อให้บุคคลทั่วไปเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน
  5. ให้การบริบาลสุขภาพปฐมภูมิอย่างเป็นองค์รวมสำหรับประชากรทุกช่วงวัยทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล
  6. ดำรงไว้ซึ่งคุณค่าอัตลักษณ์ของชุมชน รวมถึงสอดแทรกเรื่องวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลและครอบครัวในการจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

บริการทางการแพทย์

ให้การบริบาลปฐมภูมิอย่างครอบคลุม อันได้แก่

  • การสร้างเสริมสุขภาพ
  • การป้องกันโรค
  • การรักษาความเจ็บป่วย
  • การฟื้นฟูคุณภาพชีวิต
  • การดูแลแบบประคับประคอง

ในระดับบุคคลและครอบครัว รวมถึงการบริบาลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน

อาคาร ภปร ชั้น 13

วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

ชื่อคลินิก

คลินิกบริบาลสุขภาพที่บ้าน

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 3799

 

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

https://chulalongkornhospital.go.th/fammed

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใจถึงใจ ปี 2 : ค่ายผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวแห่งแรกของประเทศไทย

24 พฤศจิกายน พศ. 2560 กลุ่มงานภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ ฝ่ายอายุรศาตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงาน “ใจถึงใจ ปี 2” (Heart Failure Patient Appreciation Day) หรือ ค่ายผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวแห่งแรกของประเทศไทย ณ ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โดยมี ศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายการแพทย์และวิจัย เป็นประธานเปิดงาน

มอบเก้าอี้โซฟาปรับนอน

บริษัท เลซีบอย ( ประเทศไทย ) จำกัด มอบเก้าอี้โซฟาปรับนอน จำนวน 2 ที่นั่ง เพื่อ คลินิกโลหิตวิทยา และ ศูนย์ให้เคมีบำบัด แบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

อาการเต้านมคัด

เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่ได้มาก แต่ไม่สามารถระบายน้ำนมออกหรือระบายออกไม่ทัน จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวแดงเป็นมัน เจ็บ

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์