โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ และคลินิกระบบบริการพิเศษผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ)

Special Clinics

มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำทางการพยาบาลในระดับสากล

คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบันเปิดบริการงานร่วมกันระหว่างชมรมคณาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อเป็นหนึ่งทางเลือกของระบบบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้บริการตรวจรักษาโดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทางครอบคลุมทุกสาขา แบ่งเป็นคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ และคลินิกระบบบริการพิเศษผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ)

พันธกิจ

  1. เพื่อลดความคับคั่ง และเพิ่มทางเลือกการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ไม่สะดวกที่จะมารับบริการในเวลาราชการ และต้องการตรวจกับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ สำหรับคลินิกระบบบริการพิเศษ Premium care เป็นคลินิกระบบบริการพิเศษผู้ป่วยนอก ที่เปิดในเวลาราชการ เป็นระบบการนัดหมายล่วงหน้า ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็วตรงตามเวลานัดหมาย
  2. การใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีราคาสูง อย่างคุ้มค่า คุ้มทุน
  3. สร้างรายได้ให้กับองค์กรเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการบริการรักษาพยาบาล และสนับสนุนภารกิจด้านต่าง ๆ ขององค์กร
  4. ธำรงรักษาบุคลากรให้ปฏิบัติงานในองค์กร โดยให้โอกาสมีรายได้จากการปฏิบัติงานนอกเวลา ทำให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ภาระหน้าที่

คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการเปิดให้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลายและได้มาตรฐาน รวมถึงให้การดูแลรักษาผู้ป่วย โดยคณะแพทย์และบุคลากรเฉพาะทางที่ครอบคลุมทุกสาขาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เช่น คลินิกโรคหัวใจ, คลินิกโรคผิวหนัง, คลินิกระบบทางเดินหายใจ (ปอด), คลินิกโรคหู คอ จมูก เป็นต้น 

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  1. บริการตรวจรักษา โดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทางครอบคลุมทุกสาขาทางการแพทย์ ได้แก่
    • อายุรกรรมทั่วไป และอายุรกรรมเฉพาะทาง
    • ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ฯลฯ
    • หู คอ จมูก
    • ผิวหนัง
    • จักษุกรรม
    • เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นต้น
  2. บริการทำหัตถการเพื่อการรักษา เช่น ผ่าตัดทุกระบบ เลเซอร์ด้านสวยงาม ฯลฯ
  3. บริการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น Lab X-ray CT MRI Mammogram ฯลฯ

คลินิกระบบบริการพิเศษผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ) Premium care เป็นคลินิกระบบบริการพิเศษผู้ป่วยนอก ที่เปิดในเวลาราชการ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการลดความคับคั่ง และไม่สะดวกในการเดินทางมารักษานอกเวลาราชการ เป็นระบบการนัดหมายล่วงหน้า ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็ว ตรงตามเวลานัดหมาย การบริการตรวจวินิจฉัยโรคที่ครบวงจร One stop service สถานที่บริการเดินทางสะดวก สะอาด สวยงาม ตรวจรักษาโดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เช่นเดียวกับ คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดตรวจสอบที่ตารางแพทย์ออกตรวจคลินิกพิเศษฯ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center งานคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ

อาคาร ภปร, อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และอาคาร ส.ธ.

วันจันทร์ – ศุกร์  เวลา 16.00 – 20.00 น.
วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 08.00 – 12.00 น.

 

อาคารนวัตบริบาล ชั้น 1 และ ชั้น 4

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

คลินิกพิเศษนอกเวลา
อาคาร ภปร ชั้น 13

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

วันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.
ติดต่อ : 02 256 5193

วันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 16.00 – 20.00 น.
ติดต่อ : 02 256 5193

วันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 12.00 น.
ติดต่อ : 02 256 5193

*ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

https://spcweb.kcmh.or.th/

บทความที่เกี่ยวข้อง

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดูงาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายบริการ ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นางพรทิพย์ ควรคิด หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

โรงพยาบาลสระบุรี ดูงาน Corporate Image & Brand Management โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผศ.(พิเศษ)นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านภาพลักษณ์องค์กร ให้การต้อนรับ นพ.อนันต์ กมลเนตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระบุรี นพ.ประพงษ์ วงศ์ระวีกุล รองผู้อำนวยการ ฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสระบุรี พญ.ปิยชนก ทศพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านภาพลักษณ์องค์กร โรงพยาบาลสระบุรี และคณะ จำนวน 18 คน

ไขความลับ ! ทำอย่างไรคนไทยจะไม่ใหลตาย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดแถลงข่าว ไขความลับ ... ทำอย่างไรคนไทยจะไม่ใหลตาย จากการถอดรหัสพันธุกรรม ในคนไทยกว่า 750 คน ด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่และการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุ โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์