โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ

Excellence Center of Organ Transplantation (ECOT)

รับบริจาคอวัยวะและการปลูกถ่ายอวัยวะต่าง ๆ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นผู้บุกเบิกในด้านการปลูกถ่ายอวัยวะของประเทศไทยมาตั้งแต่อดีต ดังนี้

  • ปลูกถ่ายไตสำเร็จเป็นที่แรกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2515
  • ปลูกถ่ายตับสำเร็จเป็นที่แรกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530
  • ปลูกถ่ายหัวใจสำเร็จเป็นที่แรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ. 2530
  • เป็นแกนนำสำคัญในการประชุมเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสมองตายเมื่อปี พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตาย ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะในประเทศไทยพัฒนาขึ้นอย่างมากและส่งผลให้ผู้รับอวัยวะมีโอกาสอยู่รอดด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ริเริ่มกิจกรรมวันรำลึกถึงผู้บริจาคอวัยวะต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เพื่อให้ญาติผู้บริจาคอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและบุคลากรทางการแพทย์ได้ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้บริจาคอวัยวะ 
  • ปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2551

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น คณะผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อดำเนินงานด้านการปลูกถ่ายอวัยวะโดยเฉพาะ
ภายหลังการก่อตั้งศูนย์ยังมีผลงานอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • ปลูกถ่ายหัวใจครบ 100 ราย เมื่อปี พ.ศ. 2558
  • ปลูกถ่ายตับและไตในผู้ป่วยมะเร็งตับและไตวายเรื้อรังได้สำเร็จเป็นรายแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2559
  • ปลูกถ่ายตับในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี จากผู้บริจาคมีชีวิตข้ามหมู่เลือดเป็นรายแรกของประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2560
  • ปลูกถ่ายตับในเด็กที่มีน้ำหนักน้อยที่สุด (5.8 กิโลกรัม) จากผู้บริจาคมีชีวิตได้สำเร็จเป็นรายแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    เมื่อปี พ.ศ. 2561

อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ริเริ่มการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การผ่าตัดรับบริจาคอวัยวะ” ในปี พ.ศ. 2560 จากนั้นก็จัดประจำทุกปี เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะการผ่าตัดรับอวัยวะบริจาคให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้รับอวัยวะมากขึ้น ทั้งนี้มีทีมศัลยแพทย์และพยาบาลจากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

พันธกิจ

  1. ให้บริการการรับบริจาคอวัยวะและการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆโดยครอบคลุมงานการรักษาพยาบาลตั้งแต่ก่อนผ่าตัด  ทำผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และการดูแลหลังการผ่าตัด  การฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรคแทรกซ้อน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแบบครบวงจร โดยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน และให้ความสำคัญกับผู้บริจาคอวัยวะ โดยเฉพาะความปลอดภัยของผู้บริจาคที่มีชีวิต
  2. เป็นแหล่งการเรียนรู้  ฝึกอบรม การเรียนการสอนทั้งระดับบัณฑิตศึกษา และระดับหลังปริญญา
  3. วิจัย พัฒนา และสิ่งประดิษฐ์ เป็นที่ยอมรับระดับชาติและนานาชาติพัฒนา นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

เจตจำนง

พัฒนาการปลูกถ่ายอวัยวะให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และการบริการรักษาพยาบาลเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีธรรมาภิบาลและบุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ภาระหน้าที่

  1. ให้บริการการรับบริจาคอวัยวะและการปลูกถ่ายอวัยวะต่าง ๆ ทั้งในด้านรักษาพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรคแทรกซ้อนและ
    ส่งเสริมสุขภาพที่มีคุณภาพระดับสากล
  2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรม ฝึกอบรม ค้นคว้าวิจัย และบริการวิชาการจนเป็นที่ยอมรับระดับสากล
  3. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากร

ภารกิจหน่วยงานที่สนับสนุน

  1. รับแจ้งผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
  2. ประสานงานเกี่ยวกับการรับบริจาคอวัยวะ และการปลูกถ่ายอวัยวะทั้งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และภายนอกโรงพยาบาล
  3. ออกผ่าตัดรับบริจาคอวัยวะทั้งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  และ ภายนอกโรงพยาบาล
  4. ให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่มาเพื่อรับการปลูกถ่ายอวัยวะและหลังการปลูกถ่ายอวัยวะ
  5. ประเมินผู้ป่วย (และผู้บริจาคอวัยวะที่มีชีวิต)เพื่อเข้าสู่กระบวนการปลูกถ่ายอวัยวะตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
  6. ลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อเป็นผู้รอรับบริจาคอวัยวะกับทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
  7. ลงทะเบียนสิทธิโครงการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยก่อนปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น  สิทธิบัตรทอง , สิทธิประกันสังคม เปิดสิทธิ และ ตรวจสอบสิทธิโครงการปลูกถ่ายอวัยวะ เมื่อผู้ป่วยมารับการตรวจรักษา ทั้งก่อนปลูกถ่ายอวัยวะและหลังปลูกถ่ายอวัยวะ
  8. ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะให้กับผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  9. ให้การรักษาดูแล และติดตามผู้ป่วยก่อน-หลังปลูกถ่ายอวัยวะ ตามมาตรฐาน และ เป้าหมายที่กำหนด

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ ประกอบด้วยคลินิกเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายอวัยวะ ดังนี้

  1. คลินิกศัลยกรรมตับ ตับอ่อน และการปลูกถ่ายอวัยวะในช่องท้อง
  2. คลินิกปลูกถ่ายตับในเด็ก
  3. คลินิกปลูกถ่ายไต
  4. คลินิกปลูกถ่ายหัวใจและปอด

การให้บริการของศูนย์

  1. ให้การดูแลรักษาสุขภาพพร้อมกับให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วยก่อนและหลังปลูกถ่ายอวัยวะแบบองค์รวม มากไปด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์  ทำให้ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์แห่งนี้สามารถปลูกถ่ายอวัยวะให้กับผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมากขึ้น มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มการศึกษาวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย

  2. มีความโดดเด่นในด้านการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะอย่างครบวงจรด้วยทีมแพทย์ที่มีความสามารถเทียบเท่าระดับสากลในการปลูกถ่าย “ไต ตับ หัวใจและปอด”

  3. มีพยาบาลที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการปลูกถ่ายอวัยวะประสานงานกับผู้ป่วยและแพทย์โดยตรงอย่างฉับไว ทันท่วงที ตลอด
    24 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล รักษาที่มีประสิทธิภาพ ทันเหตุการณ์

นอกจากนี้ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ ยังมีกิจกรรมในช่วงปีที่ผ่านมาอีกด้วย ได้แก่

1. โครงการปลูกถ่ายไต 100 รายเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10
เป็นโครงการเพิ่มศักยภาพการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจาก “ผู้บริจาคที่มีชีวิต” โดยตั้งเป้าการผ่าตัดทั้งสิ้น 100 รายซึ่งเป็นการผ่าตัดกรณี
หมู่เลือดเข้ากันไม่ได้

2. กิจกรรมรับบริจาคอวัยวะ ในงาน “ORGAN CAN SHARE” ครั้งที่ 2 ณ ศูนย์การค้า MBK เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2562
เป็นการเสวนาให้ความรู้และความเข้าใจในหัวข้อ “ปาฏิหาริย์แห่งการให้” จากผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายอวัยวะโดย รศ.นพ.บุญชู ศิริจินดากุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ พร้อมคนบันเทิงมากมาย

3. การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การผ่าตัดรับบริจาคอวัยวะ” (Lecture & Hands-on workshop organ retrieval) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562
วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะการผ่าตัดรับอวัยวะบริจาคให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้รับอวัยวะมากขึ้น ทั้งนี้มีทีมศัลยแพทย์และพยาบาลจากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

4. “วันรำลึกถึงผู้บริจาคอวัยวะ” (Donor remembrance day) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เพื่อให้ญาติผู้บริจาคอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ และบุคลากรทางการแพทย์ ได้ร่วมกันทำบุญรำลึกถึงผู้บริจาคอวัยวะ

  1. คลินิกศัลยกรรมตับ ตับอ่อน และการปลูกถ่ายอวัยวะในช่องท้อง
    ให้บริการทุกวันศุกร์ เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 6
  2. คลินิกปลูกถ่ายตับในเด็ก
    ให้บริการทุกวันพุธ เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 9 ห้องตรวจ 1
  3. คลินิกปลูกถ่ายไต
    ให้บริการทุกวันพุธ เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 3
  4. คลินิกปลูกถ่ายหัวใจและปอด
    ให้บริการทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 12

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 26 โซน C

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 82601-2 (ในเวลาราชการ 08.00 – 16.00 น.)
095 365 3741 (นอกเวลาราชการ)

บทความที่เกี่ยวข้อง

การประชุมวิชาการ The 4th Chula Acute Kidney Injury and Blood Purification ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไต รพ.จุฬาลงกรณ์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดการประชุมวิชาการ The 4th Chula Acute Kidney Injury and Blood Purification Symposium 2023 ครั้งที่ 4

อบรมเพื่อสู่เครื่อข่าย Critical Care Nephrology ครั้งที่ 12

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการบำบัดทดแทนไตในภาวะวิกฤต เพื่อสู่เครื่อข่าย Critical Care Nephrology ครั้งที่ 12

กิจกรรม “โครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการบำบัดทดแทนไตในภาวะวิกฤต”

จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการบำบัดทดแทนไตในภาวะวิกฤต เพื่อสู่เครือข่าย Critical Care Nephrology ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 24 – 26 พฤษภาคม 2566

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์