จะนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับโรคมะเร็งช่องปากว่ามีอาการอย่างไร ปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ทำให้เกิดโรค รวมถึงวิธีการรักษาและการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ปัจจุบันมะเร็งช่องปากเป็นโรคที่พบใน 10 อันดับแรกของมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยเซลล์ส่วนใหญ่ของมะเร็งช่องปากเป็นชนิด Squamous Cell Carcinoma ที่มีความรุนแรงสูง และก่อให้เกิดอัตราการตายสูงมากกว่าร้อยละ 50
อาการ : ลักษณะเด่น แดง – ขาว – แผล – ก้อน
- รอยโรคคล้ายแผลร้อนใน และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 สัปดาห์
- ต่อมาเกิดเป็นก้อนบวมโต เป็นก้อนเนื้อ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
- อาจมีอาการชา เจ็บปวด หรือมีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการกลืน เคี้ยวอาหารลำบาก พูดและอ้าปากได้น้อย เสียงเปลี่ยน เจ็บในหู
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยเสี่ยง
- การสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งช่องปากมากขึ้น 6 เท่า
- การดื่มสุรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสูบบุหรี่ร่วมกับดื่มสุรา เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น 15 เท่า
- การเคี้ยวหมากพลู สูบยาเส้นหรือยาฉุน มีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่
- พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งช่องปาก มีความเสี่ยง
- เพิ่มขึ้นมากกว่าคนทั่วไป
- มีบาดแผลเรื้อรังในช่องปากจากฟันผุ ฟันบิ่น ฟันปลอมหลวม ที่ทำให้เกิด
- การระคายเคืองซ้ำๆ จนเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง
- โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus) ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดมะเร็ง
- ปากมดลูกพบว่าสามารถทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 (HPV16)
การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งในช่องปาก
- ลดความเสี่ยงในการทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น ลดการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเคี้ยวหมากพลู การสูบยาเส้นหรือยาฉุน
- รับประทานอาหาร ผักและผลไม้หลากหลายชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ
- หมั่นตรวจสุขภาพของช่องปากและฟันทุก 6 เดือน หากมีความผิดปกติใดๆ เช่น ฟันผุ ฟันบิ่น ฟันปลอมหลวม ให้รีบไปพบทันตแพทย์
การรักษา
มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การใช้รังสีรักษา การรักษาด้วยเคมีบำบัด การใช้ยาเจาะจง
เซลล์มะเร็ง (Target Drug Therapy) โดยแพทย์อาจใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกันมากกว่า 1 วิธี