โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ถอดบทเรียนรับมือโควิด-19

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยตรวจพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ สร้างความตื่นตระหนก และความกังวลให้แก่ประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กับบทบาทที่สามารถคัดกรองและรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระลอกแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดได้เตรียมพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่สองในประเทศไทยเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ศ.นพ.เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์ หัวหน้าฝ่ายวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมที่เป็นระบบ และมั่นใจว่าหากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จะสามารถประสานความร่วมมือเพื่อฝ่าวิกฤติโรคระบาดนี้ได้อีกครั้งอย่างแน่นอน

ศ.นพ.เทวารักษ์ กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของฝ่ายวิสัญญีวิทยาในสถานการณ์ปกติว่างานหลักที่เป็นงานประจำของทีมงานฝ่ายวิสัญญีวิทยาคือการระงับความรู้สึกให้แก่ผู้ป่วยเพื่อทำหัตถการในห้องผ่าตัด การให้บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่คลินิกระงับปวดและการบริการฝังเข็ม การดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตไอซียูศัลยกรรม สูติ-นรีเวชและไอซียูศัลยกรรมกระดูกซึ่งงานประจำเหล่านี้ทีมงานฝ่ายวิสัญญีวิทยายังคงปฏิบัติหน้าที่่อย่างเต็มที่ แต่หากเกิดการระบาดจะลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งจากอัตราเต็มกำลังที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อจัดทีมบุคลากรทางการแพทย์มาเตรียมการรับมือในกรณีเกิดโรคระบาดโควิด-19 ระลอกสอง

สำหรับภารกิจหลักที่ฝ่ายวิสัญญีวิทยามีบทบาทสำคัญในการดูแลตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรก นั่นคือการดูแลการใส่ท่อช่วยหายใจให้แก่ผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งในสถานการณ์ระลอกแรกนั้น ฝ่ายวิสัญญีวิทยาดูแลรับผิดชอบภารกิจนี้ตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีมีผู้ป่วยติดเชื้อที่มีความจำเป็นต้องรับการผ่าตัดหากไม่เร่งด่วน ฝ่ายวิสัญญีวิทยาจะเลื่อนการผ่าตัดออกไปก่อน โดยจะตัดสินใจผ่าตัดให้แก่ผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินที่ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนเท่านั้น

นอกจากนี้ฝ่ายวิสัญญีวิทยายังจัดสรรบุคลากรของฝ่ายฯ ไปสนับสนุนทีมดูแลผู้ป่วยวิกฤติโรคโควิด-19 ที่มีอยู่ 2 แห่ง โดยรับผิดชอบดูแลเรื่องการใส่ท่อช่วยหายใจให้แก่ผู้ป่วยวิกฤติ และดูแลรักษาผู้ป่วยในระบบวิกฤติอื่นๆ

หากในอนาคตโรคระบาดโควิด-19 ระลอกสองเกิดขึ้นในประเทศไทย ศ.นพ.เทวารักษ์ กล่าวว่า ฝ่ายวิสัญญีวิทยาและบุคลากรทางการแพทย์ฝ่ายต่างๆ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีการเตรียมรับมืออย่างเต็มกำลังความสามารถในทุกด้าน ดังต่อไปนี้

-| ติดตามข่าวสาร ฝ่ายวิสัญญีวิทยาเตรียมความพร้อมอยู่เสมอด้วยการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่อย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็จะสามารถเตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที
-| เตรียมบุคลากร ฝ่ายวิสัญญีวิทยาได้ถอดบทเรียนจากการรับมือโรคระบาดโควิด-19 รอบแรกเป็นอย่างดี โดยแบ่งบุคลากรไปปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ปกติของฝ่ายฯ แต่หากมีการระบาดของโรคเกิดขึ้นก็จะลดกำลังบุคลากรลงครึ่งหนึ่งเพื่อเตรียมอัตรากำลังส่วนนี้ไปสนับสนุนเพื่อรับมือโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงการช่วยคัดกรองผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งในการระบาดรอบแรกฝ่ายวิสัญญีวิทยามีการแบ่งทีมงานเป็น 3 ส่วนคือ การดูแลผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการเตรียมทีมงานสำรองเพื่อรองรับทีมงานหลักที่อาจจำเป็นต้องกักกันตัว หากต้องสงสัยว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อ อีกทั้งยังมีการแบ่งทีมงานเป็น 2 ส่วน ทั้งอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้านวิสัญญีแพทย์ ผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ ที่หากจำเป็นต้องกักตัวกรณีสัมผัสผู้ป่วยที่มีประวัติความเสี่ยง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็ยังมีบุคลากรทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงานแทนเสมอ
-| เตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฝ่ายวิสัญญีวิทยาเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น อาทิ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือรักษาอาการผู้ป่วยวิกฤติ เป็นต้น เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือหากเกิดการระบาดในระลอกสองอย่างไรก็ดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เชื่อมั่นว่าแนวทางการรับมือโรคโควดิ -19 ระลอกสองจะไมร่ นุ แรงเทา่ การระบาดระลอกแรก เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์และทีมงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีประสบการณ์และรู้จักการป้องกันตนเองระดับหนึ่ง ระลอกแรก สู่การเตรียมพร้อมวิสัญญีแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย CHULA COVID-19 ถอดบทเรียนรับมือโควิด-19 กรณีเกิดการระบาดระลอกสอง

อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เชื่อมั่นว่าแนวทางการรับมือโรคโควดิ -19 ระลอกสองจะไมร่ นุ แรงเทา่ การระบาดระลอกแรก เนื่อจากบุคลากรทางการแพทย์และทีมงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีประสบการณ์และรู้จักการป้องกันตนเองระดับหนึ่ง

สำหรับบทเรียนที่ได้จากการรับมือการระบาดโรคโควิด-19 ระลอกแรกคือ ในครั้งก่อนผ้ปู่วยที่มารับการตรวจบางรายไมแ่ สดงอาการ หรือยังไม่แน่ใจว่าติดเชื้อหรือไม่ (Patient Under Investigation) ซึ่งฝ่ายจุลชีววิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงได้พัฒนาการผลิตชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สามารถทราบผลภายใน 1-2 ชั่วโมง ทำให้แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลผู้ป่วยและป้องกันตนเองก่อนการรักษาได้อย่างถูกต้องรัดกุมมากขึ้น

การสื่อสารความรู้และทำความเข้าใจกับบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดได้เป็นอย่างดี โดยที่ผ่านมาฝ่ายวิสัญญีวิทยาได้ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับเกี่ยวกับการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี และหลักการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เช่น มีการฝึกเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสวมและการถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกต้องรัดกุม การเว้นระยะห่างที่เหมาะสม การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันที่ได้คุณภาพสามารถกรองฝุ่นและป้องกันเชื้อโรคได้มิดชิด รวมถึงการจำลองสถานการณ์การผ่าตัดโดยใช้หุ่น เสมือนว่ากำลังจะทำการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยจริงๆ เพื่อให้ทีมงานคุ้นเคยและสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีขึ้น หากต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในสถานการณ์จริง

นอกจากนี้ การถอดบทเรียนการรับมือโรคโควิด-19 ยังครอบคลุมถึงการจัดทีมเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติ การเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ทางการแพทย์ กระบวนการรักษา เพื่อนำมาปรับกระบวนการรักษาให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาการสื่อสารระหว่างทีมแพทย์ในห้องผ่าตัดและทีมสนับสนุนนอกห้องผ่าตัดเพื่อสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ด้วย

สำหรับแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่อื่นๆ ในอนาคต ศ.นพ.เทวารักษ์ กล่าวว่า แนวทางจะต้องขึ้นอยู่กับว่าโรคอุบัติใหม่ ดังกล่าวเป็นโรคติดต่อประเภทใด หากเป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ ใกล้เคียงกับโรคโควิด-19 ก็สามารถใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้ แต่หากโรคอุบัติใหม่มีลักษณะของการติดเชื้อหรือเชื้อโรคที่ต่างกัน แนวทางการป้องกันก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาโรคนั้นๆ

ศ.นพ.เทวารักษ์ ให้ความเห็นสรุปในตอนท้ายว่า ที่ผ่านมามนุษย์เราคุ้นเคยกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เช่น วัฒนธรรมการทักทายที่มีการจับมือหรือสัมผัสใกล้ชิด ซึ่งเป็นช่องทางให้มนุษย์เสี่ยงกับการติดโรคได้ง่าย หรือการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดขณะสังสรรค์ในสถานบันเทิง มีการดื่มสุราจากภาชนะเดียวกัน การสูบบุหรี่มวนเดียวกัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ต้องมีการปรับเปลี่ยนและอาจจะเป็นการปรับพฤติกรรมอย่างถาวร (New Normal) ของมนุษย์ในระยะยาวอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยใช้ภาพสนามแม่เหล็ก

การพัฒนานำเทคโนโลยีการถ่ายภาพสนามแม่เหล็กมาใช้ร่วมกับการอัลตราซาวนด์เสมือนการสร้างแผนที่นำทางเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ

Intraoperative Neurophysiologic Monitoring
เพื่อการฟื้นตัวไวและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัด

เทคโนโลยีการเฝ้าระวังการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติระหว่างผ่าตัด คือ Intraoperative Bulbocavernosus Reflex Monitoring มาช่วยระหว่างการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของไขสันหลังส่วนก้นแต่กำเนิดในผู้ป่วยเด็ก

การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า

Deep Brain Stimulation หรือการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า นวัตกรรมการรักษาทางเลือกใหม่โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์