- ภาวะสมองเสื่อมเองไม่ได้เพิ่มควมเสี่ยงต่อกรเกิดโควิด 19 แต่ปิจจัยอื่นที่พบในผู้บ้วยสมองเสื่อม เช่น การมีอายุมาก ปัญหพฤติกรรมจกภวะสมองเสื่อม และการมีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการเสียชีวิต
- ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันเชื้อ ล้างมือสม่ำเสมอ กินร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า สวมหน้ากากป้องกัน ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ หรือ ท่าไอที่ปลอดภัย และรักษาระยะห่าง
- เตือนความจำ ผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะอาการไม่รุนแรงอาจเตือนให้ผู้ป่วยระวังการติดเชื้อด้วยวิธีการเตือนความจำจดบันทึก ใช้แผ่นป้ายติดในบริเวณบ้าน
- ไม่ออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการพาผู้ป่วยไปในที่ชุมชน ในกรณีมีนัดให้ผู้ดูแลไปพบแพทย์แทน หากต้องประเมินอาการอาจทำผ่านโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล
- หลีกเลี่ยงการให้ญติหรือเพื่อนมาเยี่ยมที่บ้าน ใช้วิธีติดต่อผ่านโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล จดบันทึกรายชื่อบุคคลที่เข้ามาสัมผัสผู้ป่วย เผื่อการตรวจสอบภายหลังหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
- ติดต่อสื่อสารโดยเว้นระยะห่างทางสังคม การใช้สือจกโซเชียลมีเดีย ควรมีกรกำหนดระยะเวลาในการรับข้อมูล 2-3 ครั้งต่อวัน และเลือกรับข้อมูลเกี่ยวกับโควิด 19 จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ สามารถใช้สื่อโซเชียลมีเดียเสพสื่ออื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโควิด 19 เพื่อกำกิจกรรมกระตุ้นสมองหรือสร้างความผ่อนคลายได้ตามปกติ
การเตรียมตัวให้พร้อมในกรณีเกิดการเจ็บป่วยหรือการระบาดของโรครุนแรง
- จัดเตรียมเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย และผู้ดูแลเผื่อใช้สำหรับอย่างน้อย 2-3 เดือน
- จัดเตรียมเวชภัณฑ์จำนวนหนึ่งและของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น ใส่กระเป้าไว้ให้หยิบฉวยได้ง่ายในกรณีฉุกเฉินต้องนอนโรงพยาบาล
- ผู้ดูแลควรเขียนบันทึกข้อความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเก็บไว้ เผื่อในกรณีผู้ดูแลป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล จะได้มีข้อมูลส่งต่อสำหรับผู้ดูแลท่านอื่น
เราจะผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน
อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อตัวเอง และคนที่คุณรัก
ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม (DEMENTIA DAY CENTER) โรงพยาบาลจุฬลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์ 02-256-4000 ต่อ 71501-2 อีเมล์ DDCCHULA@GMAIL.COM