เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ลงทะเบียนสภากาชาดไทย และสำนักงานต่างๆ ของสภากาชาดไทย จัดทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานเพื่อตรวจคัดกรองเชิงรุกค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธีการ Swab ให้สำหรับประชาชนที่ชุมชนบ่อนไก่ และชุมชนคลองเตยกว่า 800 ราย พร้อมทั้งในวันที่ 10-19 พฤษภาคม 2564 จัดทีมบุคลากรทางการแพทย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนผู้มารับการฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 17,000 รายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการ ณ โรงยิมสเตเดียมการท่าเรือแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร สภาหอการค้าไทย และ
สามย่านมิตรทาวน์ เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19
ให้กับประชาชน ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม
2564 จนถึงเดือนธันวาคม 2564
โดยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะตรวจเยี่ยมการให้บริการฉีดวัคซีน ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ สถานที่ให้บริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่และทักทายประชาชนที่มารับบริการฉีดวัคซีนฯโดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่ พาเยี่ยมชมและแนะนำจุดบริการต่างๆ
ทั้งนี้ ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากร โรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีความตั้งใจและทุ่มเทในการปฏิบัติภารกิจตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง และให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชน เพื่อยั้บยั้งการแพร่ระบาดของโรค ขอให้ประชาชนคนไทยดูแลสุขภาพของตนเอง ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง และเราจะผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปด้วยกัน
“เราจะอยู่เคียงข้างคุณ… สู้ไปด้วยกัน…
จากทีมบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย”
วัคซีนคืออาวุธ ช่วยหยุดเชื้อ เพื่อชาติ
สรุปสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
วันที่ 21 พฤษภาคม 2564