โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

โรคมิวคอร์ไมโคซิสในผู้ป่วยโควิด-19

โรคมิวคอร์ไมโคซิส (Mucormycosis)

  • ในขณะนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามสีของรอยโรคหรือสารคัดหลั่ง เช่น เชื้อราดำมรณะ เชื้อราเหลือง เชื้อราขาว หรือเชื้อราเขียว
  • เชื้อก่อโรคพบได้ตามธรรมชาติ ในดินหรืออินทรียวัตถุที่เกิดการเน่าเปื่อย เช่น ซากไม้ ใบไม้ ผักผลไม้ที่เน่าแล้ว ปุ้ยหมัก หรือพบในสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

สาเหตุของโรค

  • การรับสปอร์ของเชื้อราเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
  • มักเกิดในผู้ป่วยที่มีภาวะความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเบาหวาน
    ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่มีบาดแผลที่ผิวหนัง
    โรคมิวคอร์ไมโคชิสไมได้มีความจำเพาะกับการติดเชื้อโควิด-19 แต่เนื่องจากทั้งโรคมิวคอร์ไมโคชิสและการติดเชื้อโควิด- 19 ที่มีอาการรุนแรง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน เช่น เบาหวาน ภาวะความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน จึงทำให้พบสองโรคนี้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ การใช้ยาสเตียรอยด์ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ยังทำให้โอกาสในการติดเชื้อราเพิ่มขึ้น

อาการของผู้ที่ติดเชื้อบริเวณใบหน้า

  • ปวดตา ตาบวม ใบหน้าหรือเบ้าตาปวดบวมขึ้นฝั่งเดียว การมองเห็นไม่ชัดเจน
  • คัดจมูกหรือปวดบริเวณโพรงจมูก
  • ปวดศีรษะ มีไข้
  • มีรอยสีดำเกิดขึ้นบริเวณจมูก รอบดวงตา หรือในช่องปาก
  • หากมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง อาจพบอาการบวมแดงและเกิดรอยดำบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อ
  • หากติดเชื้อในปอด จะมีไว้ หอบเหนื่อย และแน่นหน้าอก

คำแนะนำจากแพทย์

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าว ควรดูแลสุขภาพและรับประทานยาประจำตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ควรรักษาความสะอาดและสุขอนามัย รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและถูกต้องตามหลักโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2564
ที่มา : อ. ดร. พญ.กรวลี มีศิลปวิกกัย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์