- ออกกำลังกายแบบแอโรบิกวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ ทำให้รู้สึกเหนื่อยระดับปานกลางเพื่อให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานได้ดี
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อป้องกันสภาวะข้อติด ที่พบมากในผู้สูงวัย
- กิจกรรมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือการออกกำลังด้วยแรงต้านอย่างน้อย 2 วัน/สับดาห์ เช่น การออกกำลังกายโดยใช้ยางยืด
- ออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัวช่วยเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุทรงตัวได้ลดความเสี่ยงในการหกล้ม
- เปลี่ยนอิริยาบถทุก 1 – 2 ชั่วโมง หรือทำงานบ้านเบา ๆ เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และเพิ่มกิจกรรมทางกาย
- การออกกำลังกายควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากช้าไปเร็วจากเบาไปหนัก ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและความหนักของกิจกรรมตามสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
ข้อควรระวัง
- ควรประเมินร่างกายก่อนออกกำลังกาย และทำกิจกรรมตามสมรรถภาพของร่างกาย
- ลูกหลานควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม และคอยช่วยเหลือเมื่อทดลองออกกำลังกายช่วงแรก จนผู้สูงอายุปรับตัวได้
- หากมีอาการผิดปกติควรหยุดทันที และปรึกษาแพทย์
ข้อมูล ณ วันที่ 16 มกราคม 2565
ที่มา : อ. พญ.จิรภา แจ่มไพบูลย์
ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู