Q: วัคซีนโควิด-19 ให้พร้อมกับวัคซีนอื่นได้หรือไม่?
A: เนื่องจากวัคชีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่เพิ่งเริ่มนำมาใช้จึงต้องสังเกตอาการข้างเคียงอย่างใกล้ชิด ถ้าให้พร้อมกันเมื่อมีอาการข้างเคียงจะไม่ทราบว่ามาจากวัคซีนใด จึงไม่แนะนำให้ฉีดพร้อมวัคซีนอื่น ข้อยกเว้น กรณีที่จำเป็นต้องรับวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนบาดทะยัก ให้รับการฉีดวัคชีนโควิด-19 ได้โดยไม่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลา แต่ให้ฉีดที่ตำแหน่งต่างกัน
Q: วัคซีนโควิด-19 ต้องฉีดห่างจากวัคซีนอื่นนานแค่ไหน?
A: ฉีดห่างกับวัคซีนอื่น 2 สัปดาห์ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และควรกำหนดให้วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนจำเป็นที่ต้องฉีดก่อนวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่รอได้
Q: ผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 จำเป็นต้องให้วัคซีนโควิด-19 หรือไม่?
A: จำเป็น ควรฉีดหลังจากเป็นโควิด-19 แล้วอย่างน้อย 3 เดือน
Q: ผู้ป่วย HIV สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่?
A: สามารถฉีดได้ ยกเว้นว่ากำลังป่วยมีอาการให้รักษาจนควบคุมอาการได้แล้วจึงฉีดวัคซีน
Q: ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ต่าง ๆ แพ้อาหาร แพ้ยา ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่?
A: ฉีดได้และให้เฝ้าระวังอาการหลังฉีด เนื่องจากมีโอกาสแพ้วัคซีนได้แต่น้อยมาก
ที่มา :
ศ. พญ.กุลภัญญา โชคไพบูลย์กิจ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาซาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาริบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2564