โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

รู้จักปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ลูกพูดช้า

คุณพ่อคุณแม่อาจเกิดความวิตกกังวสได้เมื่อบุตรหลานพูดช้า ซึ่งโดยทั่วไปเด็กจะสามารถเข้าใจภาษาได้ก่อนแล้วจึงพูดสื่อสารได้ อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนยังมีพัฒนาการด้านภาษาที่แตกต่างกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ลูกพูดช้า

  • พันธุกรรม หากมีประวัติสมาชิกในครอบครัวพูดช้า หรือออทิสติก
  • เด็กผู้ชายพูดช้ากว่าเด็กผู้หญิงเล็กน้อย โดยเฉพาะอายุที่เริ่มพูด
  • เด็กคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างอยู่ในครรภ์การได้ยินบกพร่อง
  • โรคทางระบบประสาท เช่น มีความผิดปกติในสมอง โรคลมชัก การบาดเจ็บบริเวณศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • มีความผิดปกติของอวัยวะที่ใช้ในการพูดสื่อสาร เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมที่ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างเหมาะสม เช่น ปล่อยให้เด็กเล่นเองตามลำพัง
  • เลี้ยงลูกด้วยสื่อหน้าจอต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น การเปิดโทรทัศน์ หรือสื่อหน้าจอทิ้งไว้ให้เด็ก

ข้อมูล ณ วันที่ 2 กันยายน 2565
ที่มา : ศ. นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ
สาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์