โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Treponema pallidum ซึ่งสามารถกระจายไปยังระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หากปล่อยให้เป็นจนถึงระยะสุดท้ายโดยไม่ได้รับการรักษาเชื้อจะกระจายไปที่ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบประสาทได้

  • ติดต่อโดยการสัมผัสกับบาดแผลที่มีเชื้อโรค
  • อาการมักเริ่มจากมีแผลที่อวัยวะเพศ
  • ระยะฟักตัวเฉลี่ยราว 3 สัปดาห์ (10-90 วัน)

ซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์มาก เนื่องจากเชื้อสามารถผ่านรก ไปยังทารก สามารถติดต่อไปยังทารกได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ แต่ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับปริมาณเชื้อในกระแสเลือดและระยะของการตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ

ผลของการติดเชื้อในครรภ์

  1. อาจทำให้แท้ง
  2. คลอดก่อนกำหนด
  3. ทารกโตช้าในครรภ์
  4. ทารกพิการแต่กำเนิด
  5. ทารกบวมน้ำ (fetal hydrops)
  6. อาจร้ายแรงถึงเสียชีวิตระหว่างคลอดได้

ซิฟิลิสสามารถป้องกันได้โดยการไม่สำส่อนทางเพศและการใช้ถุงยางอนามัย สตรีตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ เพื่อตรวจหาเชื้อ และรักษาอย่างทันท่วงที

ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2562

ที่มา : รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์