ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี
- พยาธิใบไม้ตับ
- การอักเสบเรื้อรังของท่อน้ำดี
- ถุงน้ำของท่อร่วมน้ำดี
- โรคตับเรื้อรัง ตับแข็ง
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี
- ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- สารไนโตรซามีน จากการรับประทานอาหารหมักดอง
การวินิจฉัย
- การถ่ายภาพรังสีท่อน้ำดีและตับอ่อนโดยการส่องกล้อง
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
อาการของโรค
- ตาเหลือง ตัวเหลือง
- อุจจาระสีซีด
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ปวดจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวา
การรักษา
- กรณีสามารถผ่าตัดได้ : ผ่าตัดก้อนตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสงในผู้ป่วยบางราย
- กรณีไม่สามารถผ่าตัดได้หรือระยะแพร่กระจาย: ให้ยาเคมีบำบัด ร่วมกับยาภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ / ยามุ่งเป้าในผู้ป่วยบางราย
ข้อมูลโดย อ.พญ.ณัฏยา ตียพันธ์
หน่วยมะเร็งวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน 2567