- หากปกติดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วง COVD-19 ควรดื่มให้น้อยที่สุดและไม่เป็นการดื่มจนเกิดภาวะมึนเมา
- หากไม่สามารถควบคุมการดื่มของคุณ หรือของคนใกล้ชิดคุณได้ ควรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1413
- ควรป้องกันไม่ให้เด็กและวัยรุ่นเข้าถึงครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ดื่มให้เด็กเห็นเป็นแบบอย่าง
- ควรพูดคุยกับเด็กและวัยรุ่นกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มและ COVID-19 เช่น ทำให้เกิดการละเมิดการกักตัวและการเว้นระยะห่างทางกาย ซึ่งอาจทำให้การระบาดของโรคแย่ลง
- หลีกเลี่ยงการดื่มครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยด็ดขาด เพราะจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน และสุขกาพของตนเองและเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้อื่น
- อย่าใช้การดื่มเป็นวิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียด การกักแยกตัวพร้อมดื่มไปด้วยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมกับการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้
- ไม่ผสมแอลกอฮอล์กับยา หรือสมุนไพรใด ๆ เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง หรืออาจเพิ่มความแรงของยาจนถึงระดับที่กลายเป็นพิษได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถ้าคุณกำลังใช้ยาที่มีฤทธิ์กดประสาท (เช่น ยาแก้ปวด ยานอนหลับ ยาต้านเศร้า ฯลฯ ) อีกทั้งแอลกอฮอล์อาจรบกวนการทำงานของตับ ทำให้ตับวายหรือเกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้
- หลีกเลี่ยงการสะสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในบ้าน
“หากท่านหรือคนใกล้ชิด มีอาการต้องสงสัยว่าติดแอลกอฮอล์ร่วมกับมีภาวะซึมเศร้าสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่ Addiction Clinic ทุกวันศุกร์ เวลา 9:00-12.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 12 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย”
ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2563
ที่มา : อ.นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร