โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

5 วิธีป้องกันการบาดเจ็บฟุตบอลและฟุตซอล

  1. เตรียมความฟิตของร่างกาย
    (โดยเฉพาะหากหยุด หรือห่างหายจากการเล่นไปนาน 2-3 เดือน) เช่น การวิ่ง ฝึกการทรงตัวและการเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังจากการเล่น หรือฝึก รวมถึงควรดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ
  2. สวมอุปกรณ์ป้องกัน
    เช่น สนับแข้ง ถุงมือผู้รักษาประตู เป็นต้น
    เพื่อลดการกระแทกจากการเล่นหรือฝึกซ้อม
  3. เข้าใจพื้นฐานการบาดเจ็บ
    หลีกเลี่ยงการเข้าปะทะที่รุนแรง เช่น การปะทะที่อาจจะทำให้เกิดแผลฟกช้ำ และแผลถลอก ความเสี่ยงของแผลติดเชื้อและภาวะเลือดออกใต้ผิวหนัง
  4. ตรวจสอบตัวเองก่อน-หลังลงเล่น
    เช่น อาการบาดเจ็บของข้อและเอ็นยึดรอบข้อควรพักรักษาตัวให้หายเสียก่อน หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ
  5. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    เกี่ยวกับลักษณะอาการบาดเจ็บต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อกระตุก อาการตะคริว อาการของกล้ามเนื้ออักเสบกล้ามเนื้อบวมหรืออาการพลิกของข้อ เป็นต้น เพื่อให้สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง และง่ายต่อการรักษา

ข้อมูล ณ วันที่ 23 กันยายน 2563
ที่มา : รศ. นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์