วัยทอง หรือ วัยหมดระดู คือ ช่วงวัยของสตรีที่รังไข่หยุดทำงาน ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกระบบของร่างกาย
อาการของวัยทอง
– อาการทางระบบประสาทและสมอ
– ระบบควบคุมอุณหภูมิทำงานผิดปกติ จะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน
– อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ยาก
– นอนหลับยาก ตื่นกลางดึก ชั่วโมงการนอนลดลง
– ความจำแย่ลง ความสามารถในการทำงานลดลง
– ความสนใจและความต้องการทางเพศลดลง
– อาการทางช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะ
– ช่องคลอดแห้ง ระคายเคือง คัน
– เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
– สารคัดหลั่งลดลง ทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
– ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะลำบาก
– อาการอื่นๆ
– ผิวหนังแห้ง บาง
– ผมแห้งและหลุดร่วงง่าย
– ปวดเมื่อยตามร่างกาย
แนวทางการรักษา และการปฏิบัติตัว
1. ทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ
2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ถั่ว เต้าหู้ ผักใบเขียว เพิ่มปริมาณอาหารประเภทกากใย เช่น ผัก ผลไม้ เพื่อช่วยการขับถ่าย
3. งดเครื่องดื่มหรืออาหารที่อาจกระตุ้นอาการ เช่น อาหารรสจัด อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
4. พักผ่อนให้เพียงพอ เลือกอยู่ในที่สงบ อากาศไม่ร้อน
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ แอโรบิก ไทเก็ก
6. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด และช่วยให้ควบคุมอารมณ์ได้ดี เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ
7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ การตรวจระบบหลอดเลือดและหัวใจ การรับวัคซีนที่จำเป็น
8. ถ้ายังมีอาการที่รบกวนชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทองนั้นจะอาการมากน้อยต่างกันในแต่ละบุคคล หากปฎิบัติตามคำแนะนำตั้งต้นแล้วอาการวัยทองยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์และรับการรักษาเพื่อให้ผ่านช่วงวัยทองไปได้อย่างสมดุล
ข้อมูลโดย ผศ.นพ.อัมรินทร์ สุวรรณ
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ข้อมูล ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2566