มะเร็งช่องปากเป็นโรคที่ติด 10 อันดับแรกของมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มีความรุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากกว่าร้อยละ 50
อาการ
ลักษณะเด่น แดง-ขาว-แผล-ก้อน
- รอยโรคคล้ายแผลร้อนใน แต่ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์
- แผลจะใหญ่ขึ้นเป็นก้อนเนื้อบวมโต ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
- อาจมีอาการชา เจ็บปวด หรือมีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการกลืน เคี้ยวอาหารลำบาก พูดและอ้าปากได้น้อย เสียงเปลี่ยน เจ็บในหู
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยเสี่ยง
1.การสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งช่องปากมากขึ้นถึง 6 เท่า
2.การดื่มสุรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสูบบุหรี่ร่วมกับดื่มสุรา เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น 15 เท่า
3.การเคี้ยวหมากพลู สูบยาเส้นหรือยาฉุน ซึ่งมีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่
4.พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งช่องปาก มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่าคนทั่วไป
5.มีบาดแผลเรื้อรังในช่องปากจากพันผุ ฟันบิ่น ฟันปลอมหลวม ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองซ้ำๆ จนเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง
6.โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก พบว่าสามารถทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 (HPV 16)
การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยง
1.ลดความเสี่ยงในการทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น ลดการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเคี้ยวหมากพลู การสูบยาเส้น หรือ ยาฉุน
2.รับประทานอาหาร ผักและผลไม้หลากหลายชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ
3.ดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากและฟันด้วยตนเองให้สะอาดอยู่เสมอ ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก 6 เดือน หากมีความผิดปกติใดๆ เช่น ฟันผุ ฟันบิ่น ฟันปลอมหลวม ให้รีบพบทันตแพทย์
การรักษา
มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การให้รังสีวิทยา การรักษาด้วยเคมีบำบัด การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Target Drug Therapy)
ข้อมูลโดย : ทพญ.วิภาพร พรสินศิริรักษ์
ฝ่ายทันตกรรม
ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2566