พลุและประทัด อุปกรณ์เฉลิมฉลองในเทศกาลต่าง ๆ แต่อาจนำมาซึ่งอันตรายต่อร่างกาย ทั้งยังเป็นภัยในระยะยาว และส่งผลกระทบร้ายแรง ที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้
ผลกระทบที่เกิดจากพลุและประทัด
- ระคายเคืองตามร่างกาย เนื่องจากสารเคมีอันตรายในพลุและประทัด
- ผิวหนังพุพอง จากประกายไฟ และความร้อนของพลุและประทัด
- ผิวกระจกตาไหม้ กระจกตาหลุดลอก เนื่องจากโดนสะเก็ดพลุ หรือดอกไม้ไฟ อาจทำให้เสียดวงตาอย่างถาวร
- หูอื้อ หูดับ มีเสียงรบกวนในหู หรือเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้
- อวัยวะฉีกขาด จากแรงระเบิด
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับบาดเจ็บจากพลุและประทัด
- ถ้ามีแผลฉีกขาดควรห้ามเลือดด้วยการใช้ผ้าสะอาดพันรอบแผล กดแผลให้แน่นเพื่อชะลอการไหลเวียนของเลือด และนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที
- หากดวงตาได้รับบาดเจ็บควรหาอะไรป้องกันดวงตา และไปพบแพทย์ทันที
- หากมีอาการผิวพุพอง ระคายเคืองตามร่างกาย หูอื้อหรือหูดับ ควรพบแพทย์โดยทันทีเพื่อรับการรักษาก่อนลุกลาม และเป็นอันตรายในระยะยาว
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บริเวณที่มีการจุดพลุและไม่ควรจุดพลุใกล้กับวัตถุไวไฟ
- สำหรับเด็กควรเล่นพลุหรือประทัดภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ และใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาที่มีความแข็งแรงทุกครั้ง
- ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง เช่น ที่อุดหู (Ear plug)
ข้อมูล อ.นพ.ธนดล โรจนศานติกุล
ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2566