“สุขภาพจิต” เป็นประเด็นปัญหาที่พบมากขึ้นในวัยทำงาน ถือเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและสูญเสียอันดับต้น ๆ ทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยทำงาน ได้แก่ ความเครียดจากงาน สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การไม่มีสมดุลงานและชีวิต Work-life Balance และความไม่ลงตัวระหว่าง ความคาดหวังในงานและอำนาจการควบคุมงาน
ปัญหาสุขภาพจิตจากงาน ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ดังนี้
แบบฉับพลัน: ความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเศร้า ความอยากอาหารลดลง การเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ
แบบเรื้อรัง: ภาวะหมดไฟ (Burnout) ระดับภูมิคุ้มกันลดลง ความต้องการทางเพศลดลง ความดันโลหิตสูง ตลอดจนความผิดปกติทางจิต
การจัดการดูแลสุขภาพจิตในที่ทำงานที่ดี ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีส่วนบุคคล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์กรในระยะยาว โดยต้องอาศัยความร่วมมือ จาก นายจ้าง พนักงาน และบุคลากรทางการแพทย์ ดังนี้
1. ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
2. ปรับปรุงการสื่อสารในที่ทำงาน พัฒนาการทำงานเป็นทีม
3. จัดสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
4. ส่งเสริมให้ผู้บริหารสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
5. ให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพจิต
6. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ
7. ดูแลใส่ใจพนักงานที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม
ข้อมูลโดย : อ.ดร.นพ.เจตน์ รัตนจีนะ
ฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2566