โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ลูกน้อยตื่นบ่อย นอนกรน พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ อาจมีผลต่อพัฒนาการในเด็ก

การนอนกรนในเด็กสามารถพบได้บ่อย หลายรายมีสุขภาพที่ดีและไม่มีอาการที่น่าเป็นห่วง
แต่มีประมาณ 2% ที่พบปัญหาหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ซึ่งอาจมีอาการหายใจเสียงดัง หอบ สะดุ้งสำลัก หน้าอกบุ๋มเมื่อหายใจเข้า ขาดออกซิเจน มักเกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ

อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาหยุดหายใจขณะหลับ
หลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนเสียงดังและกรนเป็นประจำ
นอนกระสับกระส่าย มีเหงื่อออกมากขณะหลับ
กรนแล้วหยุดหายใจเป็นพัก ๆ หรือหายใจเฮือก หรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ
ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ
ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากนอนหลับต่อ
ปวดศีรษะในระหว่างวัน หรือปวดศีรษะหลังตื่นนอน
สมาธิสั้น ซนกว่าปกติ มีปัญหาในการเรียนและพฤติกรรม
อารมณ์หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น จะทำให้ลูกน้อยมีภาวะขาดอ็อกซิเจน นอนหลับได้ไม่เต็มที่และมีปัญหาด้านพฤติกรรม เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการเจริญเติบโต โรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ

หากสงสัยว่าลูกน้อยมีปัญหาในขณะหลับและมีปัญหาในการหายใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจากการนอนหลับ หรือโสต ศอ นาสิกแพทย์ หรือกุมารแพทย์

ข้อมูลโดย ผศ. (พิเศษ) พญ.นทมณฑ์ ชรากร
ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา
ข้อมูล ณ วันที่ วันที่ 24 มกราคม 2567

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์