“ภูมิแพ้” เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมีปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารฮีสตามีน ส่งผลให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆ
สาเหตุ
- พันธุกรรม ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงขึ้นหากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้
- สภาพแวดล้อม การสัมผัสกับควันบุหรี่ มลภาวะ ไรฝุ่น ขนแมวและสุนัข ละอองเกสรดอกหญ้า อาจเพิ่มโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้
อาการที่พบบ่อย ในโรคภูมิแพ้
- คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เป็นหวัดบ่อย
- คันตามผิวหนังต่าง ๆ ได้แก่ ขอบตา ในตา ข้อพับแขนและขา
- หายใจลำบาก หอบ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด
- ผิวหนังบวม แดง เป็นผื่นคันที่ผิวหนัง
การรักษาโรคภูมิแพ้
- ค้นหาสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ โดยการทดสอบด้วยการสะกิดที่ผิวหนัง หรือเจาะเลือดตรวจหาสารก่อภูมิแพ้
- ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้
- ใช้ยาเพื่อควบคุมและบรรเทาอาการภูมิแพ้ ภายใต้การดูแลของแพทย์
- เสริมสร้างพฤติกรรมที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ได้แก่ กินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดภาวะเครียด
ในกรณีที่อาการของโรคภูมิแพ้ยังควบคุมได้ยาก ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้
ข้อมูลโดย : ผศ.พญ.นริศรา สุรทานต์นนท์
หน่วยโรคภูมิแพ้ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน 2566