โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ถ่ายพยาธิทุกปี ดีหรือไม่?

พยาธิในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น ภาวะโลหิตจาง การอักเสบของลำไส้ หรืออวัยวะอื่นๆ ที่พยาธิไปอาศัยอยู่

คำเตือนเกี่ยวกับการใช้ยาถ่ายพยาธิ

  1. ไม่ควรรับประทานยาถ่ายพยาธิเป็นประจำทุกปี และควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด โดยแพทย์จะพิจารณาจากการส่งตรวจอุจจาระ หรือการตรวจอื่น ๆ เพื่อให้การวินิจฉัยถึงชนิดของพยาธิ และทำการรักษาอย่างถูกต้อง
  2. ไม่ควรซื้อยาถ่ายพยาธิรับประทานเอง หรือใช้ยาถ่ายพยาธิโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยาถ่ายพยาธิมีฤทธิ์ในการรักษาการติดเชื้อพยาธิ ซึ่งเป็นปรสิตที่มีหลากหลายชนิด จึงควรรับประทานยาถ่ายพยาธิให้ตรงกับชนิดของพยาธิที่มีอยู่ในร่างกาย

อาการที่อาจเกิดจากพยาธิในร่างกาย

  • พยาธิในทางเดินอาหาร : หิวบ่อย น้ำหนักลด โลหิตจาง ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย คันบริเวณทวารหนัก
  • พยาธิใต้ผิวหนัง : มีรอยทางเดินของพยาธิที่ผิวหนัง หรือมีก้อนบวมแดงที่ย้ายที่ไปเรื่อย ๆ
  • พยาธิที่ไชไปที่กล้ามเนื้อ : มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ
  • พยาธิที่ไชไปที่สมอง : ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว ชัก
  • พยาธิใบไม้ในตับ : ปวดใต้ชายโครงขวา ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • พยาธิใบไม้ในปอด : เจ็บแน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง หรือไอมีเสมหะปนเลือด

ข้อมูลโดย : ศ.ดร.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร
หัวหน้าฝ่ายปรสิตวิทยา
ข้อมูล ณ วันที่ : 25 พฤษภาคม 2567

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์