ในยุค New normal ทำให้เด็ก ๆ ใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านทางสื่อออนไลน์มากขึ้น เช่น การเรียนออนไลน์ หรือการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์และส่งเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น การทำกิจกรรมนอกบ้าน และการออกกำลังกายลดลง ทำให้เด็กอาจเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ในที่สุด
เกณฑ์มาตรฐานของ BMI
ใช้เกณฑ์มาตรฐานของน้ำหนักวัดจากดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)ซึ่งเท่ากับน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสองแล้วนำมาเทียบกราฟ BMI ว่ามีเปอร์เซ็นต์ไทล์เท่าไร
- เปอร์เซ็นต์ไทล์ < 85th น้ำหนักตัวปกติ
- เปอร์เซ็นต์ไทล์ 85th – 95th น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- เปอร์เซ็นต์ไทล์ > 95th โรคอ้วน
การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาะสม
1.1 ลดอาหารประเภทแป้ง เพราะแป้งจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมควรรับประทานข้าวกล้องซึ่งมีวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารสูง
1.2 เพิ่มผักและผลไม้ที่รสไม่หวานจัดเป็นประจำ เพื่อให้เด็กได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น
*ผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ ส้ม มะละกอ แอปเปิล
*ผักหลากสี เช่น มะเขือเทศ แคร์รอต ฟักทอง ตำลึง ผักบุ้ง คะน้าบรอกโคลี ผักโขม
1.3 เพิ่มเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมันแทรก เช่น ปลากราย ปลานิล ปลาทูนึ่ง ไข่ไก่ วันละ 1 ฟอง และ ดื่มนมจืด นมสดพร่องมันเนยแทนนมรสหวาน - เพิ่มกิจกรรมที่ใช้กำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน เช่น วิ่ง เดินเร็ว ขี่จักรยาน กระโดด เล่นฟุตบอล
ข้อมูล ณ วันที่ 28 กรกฎาคม 2564
ที่มา : รศ. พญ,ดารินทร์ ซอโสตถิกุล