โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท ซึ่งจะส่งผลให้สารโดปามีนในสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลดลงและเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติตามมา

ลักษณะสำคัญของผู้ป่วยพาร์กินสัน

  1. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity)
  2. ปัญหาการทรงตัว (Postural instability)
  3. อาการสั่น (Tremor)
  4. อาการเคลื่อนไหวข้า (Bradykinesia)
  5. ปัญหาการเดินติดขัด

การรักษา

ระยะเริ่มต้นจะรักษาด้วยการรับประทานยา หากมีอคารมากขึ้น การตอบสนองต่อยาไม่คงที่ หรือได้รับผลข้างเคียง จากการรับประทานยาแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาเพิ่มเติมด้วยวิธีการ

  1. ฉีดยาเข้าใต้ชั้นผิวหนัง (Apomorphine subcutaneous injection)
  2. การให้ยาผ่านทางลำไส้เล็ก (Levodopa-carbidopa intestinal gel)
  3. การผ่ตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่สมองส่วนลึก (Deep brain stimulation)
  4. ผู้ป่วยควรทำกายภาพให้หมาะสมกับระยะการดำเนินของโรคร่วมด้วย

ข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2562

ที่มา : ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์