เกิดจากความผิดปกติของขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตาโดยรอบมีการบางลงอย่างมีลักษณะจำเพาะ ตามมาด้วยเซลล์ประสาทตาฝ่อลง ส่งผลให้ตามัวและร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้
อาการ
90% ของผู้ป่วยโรคต้อหินไม่แสดงอาการในช่วงแรก ไม่ปวด ไม่เจ็บ แต่จะแสดงอาการในช่วงระยะท้ายของโรคเมื่อการมองเห็นแย่ลงมาก เช่น ตามัว การมองเห็นรอบข้างแย่ลง อาจไม่เห็นวัตถุด้านข้าง ทำให้เดินชน บาดเจ็บ หกล้มได้ ถ้าเป็นมาก การมองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าก็จะเสียไปจนมองไม่เห็นเลย หรือสังเกตได้ว่ากระจกตาขาวขุ่น
โรคต้อหินชนิดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ซึ่งพบน้อยกว่าชนิดที่ไม่แสดงอาการ มีลักษณะดังต่อไปนี้
– ตาแดง ปวดตามาก
– ตามัวลง
– มองเห็นแสงจ้ารอบหลอดไฟ
– ปวดหัวรุนแรง ข้างเดียวกับตาที่ปวด
– อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
กลุ่มเสี่ยงของโรคต้อหิน
– อายุ 40 ปีขึ้นไป
– ผู้ที่มีความดันลูกตาสูงเกินค่าปกติ
– เชื้อชาติ
– คนเอเชีย อาจพบต้อหินชนิดมุมปิดได้ง่ายกว่าคนตะวันตก
– คนเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อาจพบต้อหินชนิดความดันตาไม่สูงมากกว่าคนในภูมิภาคอื่น
– คนสแกนดิเนเวียจะพบต้อหินจากภาวะ Pseudoexfoliation ได้ง่ายกว่า
– มีญาติสายตรงเป็นต้อหิน
– สายตาสั้นมากหรือยาวมาก
– เคยมีอุบัติเหตุทางตา
– ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ โดยเฉพาะยาหยอดตา
การรักษา
– การใช้ยาหยอดตา
– การใช้เลเซอร์
– การผ่าตัด
การพิจารณาใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นกับชนิดของต้อหิน และ หรือ ความรุนแรงของโรค
การป้องกัน
– พบจักษุแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
– หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนรุนแรงที่ดวงตา
– ระวังการใช้ยาหยอดที่มีสเตียรอยด์โดยไม่ปรึกษาแพทย์
โรคต้อหิน หากตรวจคัดกรองได้เร็วหรือพบโรคได้ในระยะเริ่มต้น จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาควบคุมโรคได้เร็วขึ้น และป้องกันไม่ให้สูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรงได้
ข้อมูลโดย รศ.พญ.วิศนี ตันติเสวี
ภาควิชาจักษุวิทยา
ข้อมูล ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2566