โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

เจ็บหน้าอกในเด็ก

อาการเจ็บหน้าอกในเด็ก พบได้ไม่บ่อยนัก แต่เป็นหนึ่งในอาการที่ทำให้ผู้ปกครองและผู้ป่วย กังวลว่าจะเป็นโรคหัวใจเป็นอย่างมาก

ส่วนใหญ่ของอาการเจ็บหน้าอกในเด็ก มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางหัวใจ อาจเกิดจาก

– กล้ามเนื้อหรือกระดูกอ่อนอักเสบ

– อาการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เช่น การออกกำลังกายหรือยกของหนัก

– โรคหอบหืดกำเริบ

– กรดไหลย้อน 

– ไม่พบสาเหตุ อาการเจ็บหน้าอกในกลุ่มนี้ มักจะเจ็บจี๊ดหรือเหมือนของแหลมมาทิ่ม กลั้นหายใจแล้วดีขึ้น หายได้เอง

สาเหตุที่พบได้น้อยของอาการเจ็บหน้าอกในเด็กที่เกิดจากโรคหัวใจ ได้แก่ 

– โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ 

– โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

– อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

– หลอดเลือดหัวใจผิดปกติ

เมื่อใดที่ควรรีบพบกุมารแพทย์และกุมารแพทย์โรคหัวใจ ?

เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

1. มีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย

2. มีไข้

3. มีเหงื่อออกมากผิดปกติ

4. มีอาการใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว

5. เป็นลมหรือคล้ายจะเป็นลม

6. มีอาการตอนออกกำลังกาย ดีขึ้นเมื่อพัก

7. อาการเจ็บหน้าอกแน่น ๆ ไม่หายเอง

8. เคยได้รับการวินิจฉัยว่า มีโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือเคยเป็นโรคคาวาซากิ

9. มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัวหรือมีคนในครอบครัวเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุในขณะอายุน้อย

ข้อมูลโดย : อ.พญ.อังควิภา ทรัพย์รุ่งเรือง

หน่วยกุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์

ข้อมูล ณ วันที่ : 10 สิงหาคม 2567

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์