อาหารรสเผ็ดเป็นที่ชื่นชอบทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งนี้การรับประทานเผ็ดอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
- ช่วยให้เจริญอาหารเนื่องจากพริกมีสารแคปไซซิน (Capsaicin) ช่วยให้กระเพาะอาหารส่วนต้นขยายตัวรับอาหารได้มากและนานขึ้น ทำให้ผู้ที่รับประทานอาหารรสเผ็ดสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น
- ลดอาการปวดแสบร้อนในทางเดินอาหารเมื่อรับประทานรสเผ็ดเป็นประจำนอกจากความเผ็ดแล้ว ตัวรับสารแคปไชซินที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินอาหารสามารถรับความรู้สึกปวดและแสบร้อนได้อีกด้วย ตัวรับนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อถูกกระตุ้นซ้ำ จะเกิดความชินและทนต่อการกระตุ้นได้มาก จึงทำให้ผู้ที่รับประทานเผ็ดอย่างต่อเนื่องจะมีความรู้สึกปวด และแสบร้อนในทางเดินอาหารลดลง
ข้อเสีย
- ปวด แสบร้อนบริเวณช่องปากและทางเดินอาหารผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารรสเผ็ดเป็นประจำอาจเกิดอาการแสบร้อนในปากแสบร้อนหน้าอก ปวดแสบท้อง และถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น
ผู้ป่วยโรคกรดใหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเผ็ดเพราะอาหารเผ็ดทำให้อาการแย่ลง และหากต้องการรับประทานอาหารเผ็ดเมื่ออาการของโรคดีขึ้นแล้ว ควรเริ่มรับประทานจากทีละน้อยก่อนแล้วปรับเพิ่มความเผ็ดขึ้น จะทำให้สามารถรับประทานอาหารรสเผ็ดได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการกำเริบ
รับประทานเผ็ดอย่างไรให้อร่อยและไม่มีผลเสีย
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่รับประทานอาหารเร็วเกินไป เนื่องจากขณะรับประทานอาหารรสเผ็ดจะบริโภคได้มากและอิ่มช้าลง อาจส่งผลเสียต่อการควบคุมน้ำหนัก
- ผู้ที่เมื่ออาหารหรือมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร อาจปรุงรสชาติให้เผ็ดขึ้นเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
- หากไม่ได้รับประทานรสเผ็ดเป็นประจำ ควรเริ่มบริโภคอาหารจากความเผ็ดระดับน้อยไปหามาก
ข้อมูล ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564
ที่มา : ผศ.(พิเศษ) พญ.ฐนิสา พัชรตระกูล