โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

อาการตะคริวขณะนอนหลับ

อาการตะคริวขณะนอนหลับ เกิดจากการมีกล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นก้อนแข็ง หรือเกิดการกระตุกอย่างกะทันหันโดยไม่สามารถคาดเดาได้ มักเกิดขึ้นที่ขาบริเวณกล้ามเนื้อน่อง อาจมีผลต่อกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และต้นขาด้านหลังมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป

สาเหตุ

นอนผิดท่า


หากนอนในท่าเหยียดขาตรง มีลักษณะของเท้าที่ไม่ถูกต้องในขณะนอน ข้อเท้างองุ้มและปลายเท้าชี้ลงพื้น คล้ายกับท่ายืนด้วยปลายเท้า อาจทำให้กล้ามเนื้อน่องหดเกร็ง เสี่ยงต่อการเป็นตะคริวได้ง่าย

เคลื่อนไหวร่างกายน้อยและไม่ยืดกล้ามเนื้อ

การนั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือไม่พยายามขยับ ยืดกล้ามเนื้อก่อนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้เกิดตะคริวที่ขาขณะนอนหลับได้

กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินไป

เกิดจากการออกกำลังกาย การทำงานหรือกิจกรรมอย่างหนักที่ต้องใช้แรงขามากอาจเป็นปัจจัยนำไปสู่การหดเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการตะคริวขณะนอนหลับ

เส้นเอ็นหดตัว

เส้นเอ็นเป็นเนื้อเยื่อที่ช่วยเชื่อมกล้ามเนื้อกับกระดูกไว้ด้วยกัน หากเส้นเอ็นหดตัวสั้นลงเกินไป อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะครัวได้

คำแนะนำจากแพทย์

อาการตะคริวสามารถบรรเทาได้ด้วยการยึดกล้ามเนื้อน่อง โดยเหยียดขาให้ตรงแล้วจึงค่อย ๆ กระดกข้อเท้าขึ้นให้ปลายนิ้วเท้าเข้าหาตัว อาจใช้วิธีประคบร้อนบริเวณที่เป็นตะคริวด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำร้อน เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยง
กล้ามเนื้อและลดอาการหดเกร็งได้เร็วขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้นสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังเกิดตะคริว

ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2564
ที่มา : อ. นพ.พรชัย อนิวรรตรีระ

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์