โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ออฟฟิศซินโดรม โรคของคน Gen ใหม่ ดูแลอย่างไรไม่ให้เรื้อรัง

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศยุคใหม่ ที่มักมีพฤติกรรมนั่งติดเก้าอี้และโต๊ะทำงานนานหลายชั่วโมง โดยไม่ได้ลุกเคลื่อนไหว หรือมีช่วงพักเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างวัน ทำให้เกิดกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อได้ อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • นั่งทำงานด้วยท่าทางไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น นั่งห่อไหล่ขณะพิมพ์คีย์บอร์ด  
  • นั่งก้มหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์, ใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานาน
  • ยืนหรือนั่งหลังค่อม คอยื่น ไหล่งุ้ม หรือนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ 
  • สะพายกระเป๋า หรือยกของหนักเป็นเวลานาน

ตัวอย่างอาการของออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวด ตึง หรือเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก
  2. อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย  
  3. ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ตาพร่ามัว  หูอื้อ 
  4. อาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ เช่น มือชา นิ้วชา แขนชา

เคล็ดลับการดูแล

  1. ปรับสภาพแวดล้อม ปรับระดับจอคอมพิวเตอร์  เลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ทำงานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย 
  2. ไม่ควรนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักอย่างน้อยทุก 30-60 นาที  บริหารร่างกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อยึดเกร็ง 
  3. ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ 
  4. หากอาการเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อเข้ารับการตรวจประเมิน รักษา หรือทำกายภาพบำบัด รวมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

ที่มา : อ.พญ.โสภาทิพย์ ฤกษ์ม่วง
วันเผยแพร่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์