โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

หลากทางเลือกเพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

การปรับพฤติกรรม

  • การลดน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4 ชั่วโมงก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับบางชนิด
  • เปลี่ยนท่านอนเป็นการนอนตะแคง

การรักษาแบบเฉพาะ

  1. การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยถ่างขยายทางเดินหายใจส่วนตันที่ตีบแคบให้กว้างขึ้น และช่วยให้สามารถหายใจได้ปกติ
  2. การใช้ทันตอุปกรณ์ ที่เลื่อนกระดูกกรามด้านล่างมาด้านหน้าเพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการความรุนแรงของโรคในระดับน้อยและปานกลาง
  3. การผ่าตัด พิจารณาในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาทางกายภาพที่ขัดขวางทางเดินหายใจ เช่น ต่อมทอนซิล ริดสีดวงในจมูกหรือโครงสร้างของกระดูกโครงสร้างใบหน้าผิดปกติ
  4. การใช้ออกซิเจน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคปอดหรือโรคหัวใจร่วมด้วยโดยออกซิเจนนั้นจะใช้โดยการเสริมกับการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก

ทั้งนี้การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ร่วมกับความยินยอมของผู้ป่วยร่วมกัน

ข้อมูล ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2564
ที่มา : รศ. พญ.นฤชา จิรกาลวสาน

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์