เป็นหนึ่งในมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอที่พบบ่อยในประเทศไทย มักพบในช่วงอายุ 30-60 ปี โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 3 เท่า
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก
1. การติดเชื้อเรื้อรังของไวรัส EBV (Epstein-Barr Virus)
2. พันธุกรรมที่มีความเสี่ยง
3. พฤติกรรมและสารก่อมะเร็ง เช่น การรับประทานของหมักดอง ปลาเค็ม เป็นเวลานาน รวมถึงการสูบบุหรี่
อาการที่ต้องระวังสำหรับมะเร็งโพรงจมูก
- มีก้อนที่คอโต
- มีอาการทางจมูก เช่น คัดแน่นจมูก มีเลือดปนในเสมหะหรือน้ำมูก
- มีอาการหูอื้อ
- มีอาการทางระบบประสาท เช่น หน้าชา มองเห็นภาพซ้อน
มะเร็งหลังโพรงจมูกเป็นมะเร็งที่ตอบสนองต่อการรักษาได้ดี ถ้าให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรก ดังนั้นหากมีอาการข้างต้นในลักษณะรื้อรัง ไม่หายจากการรักษาเบื้องต้น ควรมาพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป
ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2565
ที่มา : อ. นพ.วรวรรธน์ ระหว่างบ้าน
ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา