วัคซีนต้านโควิด-19 ชนิด mRNA ผลิตโดยการสังเคราะห์ mRNA ที่เป็นรหัสพันธุกรรมสำหรับการสร้างโปรตีนหนามของเชื้อก่อโรค์โควิด-19 หรือSARS-CoV-2 (spike protein) เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย mRNA จะทำให้เซลล์สร้างโปรตีนหนามของไวรัส และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ SARS-CoV-2
เนื่องจาก mRNA เป็นรหัสพันธุกรรมเฉพาะส่วนโปรตีนหนามไม่ใช่ไวรัสทั้งตัว จึงไม่ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนป่วยเป็นโรคโควิด-19 แต่ร่างกายจะรู้จักส่วนสำคัญที่สุดของไวรัส และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านไวรัสนี้ได้
วัคซีนชนิด mRNA ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
กำหนดให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น คือ อาการปวด บวมบริเวณที่ฉีด เวียนศีรษะ มีไข้ และคลื่นไส้
อาการแพ้แบบรุนแรง เช่น หายใจลำบาก ปากบวม หน้าบวม หัวใจเต้นเร็วกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีโอกาสเกิดน้อย
จากการศึกษาพบว่า วัคซีนชนิด mRNA แม้จะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ได้น้อยลง แต่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดอื่น
ที่มา
ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล