โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ระวังโรคไข้หวัดใหญ่ในยุคโควิด-19 ระบาด

โรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านทางการสัมผัสละอองฝอยของระบบทางเดินหายใจได้ โดยผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ ไปจนถึงมีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือเกิดภาวะปอดอักเสบซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อโรคทั้ง 2 ชนิดร่วมกันได้ ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  • ไอ เจ็บคอ คัดจมูกหรือมีน้ำมูก
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้สูง
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • หายใจหอบเหนื่อย เมื่อมีภาวะปอดอักเสบ

ข้อควรเฝ้าระวัง

  1. โรคไข้หวัดใหญ่มีอาการคล้ายกับโรคโควิด-19 มาก หากมีอาการควรพบแพทย์ทันที
  2. อาการเบื้องต้นไม่สามารถใช้ในการแยกโรคได้ จึงจำเป็นต้องใช้การตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น
  3. การแพร่กระจายของโรคสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำมูก เสมหะ หรือการไอและจามได้เช่นเดียวกัน
  4. โรคไข้หวัดใหญ่สามารถเกิดแทรกซ้อนกับโรคโควิด-19 ส่งผลให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต
  5. จึงควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกัน

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  1. วัคซีนไข้หวัดใหญ่มี 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ และชนิด 4 สายพันธุ์
  2. ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปื ในช่วงเดือนพฤษภาคมและตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
  3. ประชาชนทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคตับ โรคตวายเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคอ้วน และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ

ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2564
ที่มา : อ. นพ.จักกพัฒน์ วนิชานันท์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์