ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ส่วนผู้ที่มีอาการจะเริ่มตั้งแต่มีอาการน้อย มาก และรุนแรง ตามลำดับ
กลุ่มที่มีอาการสามารถจำแนกได้ ดังนี้
- ผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น มีน้ำมูก ไอ จาม หรือจมูกไม่ได้กลิ่น
- ผู้ที่มีอาการทางเดินหายใจส่วนปลาย คือ มีอาการปอดอักเสบตั้งแต่ระดับไม่รุนแรง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลงไปถึงระดับรุนแรง จนปอดได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ผู้ที่มีอาการในระบบอื่น ๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งเป็นผลมาจากเชื้อที่มีคุณสมบัติในการจับกับลำใส้เล็กทำให้มีอาการท้องเสียเกิดขึ้น
กาวะแทรกซ้อน
- มักเกิดขึ้นที่ปอดเป็นหลัก โดยกิดจากระบบการแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ต้องการออกชิจนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น
- ในระยะยาวผู้ป่วยบางรายปอดจะถูกทำลาย และหลังจากรักษาหายแล้วอาจทำให้ปอดมีสมรรถภาพการทำงานลดลง
- นอกจากนั้นยังมีผลต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น หัวใจและไต
การรักษาผู้ป่วยโควิด-19
- ผู้ที่มีอาการน้อย แพทย์จะให้ยาบรรเทาตามอาการ เช่น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ พักผ่อนให้เพียงพอ
- ผู้ที่มีอาการมาก อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสและรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคโควิด-19
ข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2564
ที่มา : ผศ. นพ.โอภาส พุทธเจริญ