- เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- เกิดขึ้นเฉพาะเพศชาย
- มีเลือดออกได้ง่าย และหยุดไหลยาก
สาเหตุ
- เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของยีนที่สร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกสั้น ๆ ว่าแฟคเตอร์ (Factor)
- มีการถ่ายทอดแบบยีนด้อยบนโครโมโซม X
อาการและความรุนแรง
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก มีจ้ำเขียวตามร่างกายให้เห็นตั้งแต่เด็ก มีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อได้โดยเกิดขึ้นเองแม้ไม่มีอุบัติเหตุ
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง มีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อภายหลังได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงน้อย มีเลือดออกหยุดยากภายหลังอุบัติเหตุ หรือการทำหัตถการ เช่น การถอนฟัน เป็นต้น
แนวทางการรักษาและดูแลคุณภาพชีวิต
มี 2 แบบ ดังนี้
- การรักษาตามอาการ โดยฉีดแฟคเตอร์ทดแทน เมื่อเกิดเลือดออก
- การรักษาแบบป้องกัน ทำได้โดยการให้แฟคเตอร์ทดแทน 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นประจำ
การดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียเป็นการดูแลตลอดชีวิต ผู้ป่วยและครอบครัวต้องมีความเข้าใจโรคและการรักษาอย่างถูกต้อง รวมถึงทีมสหสาขาที่ทำการรักษาต้องมีความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนาวิธีการรักษาให้ทันสมัย
เรื่อง : รศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2566