- มะเร็งในเด็ก เป็นมะเร็งที่พบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี
- 70% มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
- ชนิดของมะเร็งในเด็กแตกต่างจากมะเร็งในผู้ใหญ่
มะเร็งในเด็กที่พบบ่อยมีดังนี้
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย
เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุด ประมาณ 50-55% ของมะเร็งในเด็กทั้งหมด
อาการ
ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวส่วนมากมักมีอาการดังนี้
– ปวดข้อต่อและกระดูก
– อ่อนแรง เหนื่อยล้า
– ผิวซีด
– มีไข้
– มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง หรือฟกช้ำ
– น้ำหนักตัวลดลง
– ติดเชื้อบ่อยครั้ง
– เลือดกำเดาไหลบ่อย
– เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งชนิดนี้เกิดขึ้นกับระบบน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อน้ำเหลือง และยังส่งผลต่อไขกระดูกและอวัยวะส่วนอื่นด้วย พบบ่อยเป็นอันดับ 2
อาการ
อาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดเนื้อร้าย ดังนี้
– เหนื่อยล้า อ่อนแรง
– น้ำหนักตัวลดลง
– มีไข้
– เหงื่อออก
– บวมที่ต่อมน้ำเหลืองโดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ
โรคมะเร็งสมองและไขสันหลัง
พบบ่อยเป็นอันดับ 3 แบ่งออกเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดเนื้องอก
อาการ
– ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
– มองเห็นเป็นภาพซ้อนหรือภาพเบลอ
– ชัก
– มีปัญหาในการเดินหรือการหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ
ข้อมูลโดย : รศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566