โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด  (Postpartum blues) VS  โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) 2 ภาวะนี้ ไม่เหมือนกัน!

ความหมาย

  • ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด 

เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ไม่รุนแรง และยังไม่นับเป็น “โรค” พบได้ 40-85%

  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด

เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รุนแรง ผู้ป่วยมีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า รวมถึงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับทารกด้วย พบได้ 10-20%

อาการ

  • ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
    เช่น รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย ตึงเครียด ขี้หงุดหงิด อ่อนเพลีย เบื่ออาหารนอนไม่หลับ
  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด

นอกจากมีอาการคล้ายภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย 

  • มีอารมณ์เศร้าเกือบทั้งวัน ติดต่อกันหลายวัน
  • หมดสนุกกับกิจกรรมที่เคยทำ
  • รู้สึกไร้ค่า หรือคิดฆ่าตัวตาย
  • วิตกกังวลเกี่ยวกับทารก เช่น กลัวเลี้ยงลูกได้ไม่ดี กลัวลูกไม่ปลอดภัย อาการย้ำคิดย้ำทำ ฯลฯ

ระยะเวลาที่เป็น

  • ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
  • มักเกิดอาการ 2 – 4 วันแรกหลังคลอด
  • อาการอาจรุนแรงสุดในราววันที่ 5
  • อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ 
  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด
  • รู้สึกเศร้าตลอดทั้งวันหรือหมดความสนใจกับกิจกรรมสนุกที่เคยทำ ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 

กลุ่มเสี่ยง 

  • ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
  • ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติป่วยด้วยโรคซึมเศร้า
  • ผู้ที่เคยมีอาการซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์
  • ผู้มีประวัติอารมณ์แปรปรวนก่อนมีรอบเดือน
  • ผู้ที่ปรับตัวต่อการตั้งครรภ์ไม่ได้
  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด
  • ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด มีโอกาสเป็นซ้ำ 50%
  • ผู้ที่เคยมีอาการซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์

การรักษา

  • ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด

ให้ข้อมูล ปลอบโยน และประคับประคองจิตใจผู้ป่วยก็เพียงพอแล้ว

  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด
  • หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง อาจเลือกวิธีรักษาแบบไม่ใช้ยา เช่น จิตบำบัด
  • หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือไม่ตอบสนองจากการรักษาโดยวิธีไม่ใช้ยา จึงพิจารณารักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า

ข้อมูลโดย : ศ.พญ.ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ 
ฝ่ายจิตเวชศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2566

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์