โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ภาวะสายตาเลือนราง คืออะไร?

ภาวะสายตาเลือนราง (Low Vision) คือ ภาวะบกพร่องทางการมองเห็นที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นสายตาปกติ เลนส์สัมผัส (Contact Lens) การใช้ยา การใช้เลเซอร์ หรือการผ่าตัดทั่วไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคตา เช่น โรคต้อหิน โรคจอตา โรคกระจกตา โรคของเส้นประสาทตา และโรคเกี่ยวกับสมองโดยภาวะสายตาเลือนรางนั้นอาจไม่ถึงขั้นตาบอด แต่เพียงพอที่จะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในชีวิตประจำวัน 
🗣การฟื้นฟูสมรรถภาพภาวะสายตาเลืองรางหรือ Low Vision Rehabilitation (LVR) เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ประกอบด้วย 
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพการมองเห็น (Vision Rehabiltation)
2. การฝึกรับรู้สิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation & Mobility Training) 
3. การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน (Activity of Daily Living: ADL) 
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การศึกษา และสังคม 
🗣คำแนะนำ
หากเกิดภาวสายตาเลือนราง ให้มาปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นที่เหมาะสม เช่น
1.แว่นตาขยายภาพ                
2.แว่นขยายชนิดมือถือ
3.แว่นขยายชนิดวางหรือมีขาตั้ง   
4.ระบบกล้องส่องทางไกล
5.อุปกรณ์ขยายภาพระบบวงจรปิด

ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563         
ที่มา : อ. นพ.รัฐ อิทธิพานิชพงศ์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์