ในช่วงเดือนเมษายนของประทศไทยที่มีอุณหภูมิอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง ผู้ที่เป็นโรคไมเกรนอาจเริ่มวิตกกังวลว่า ฤดูร้อน อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการปวดศีรษะไมเกรนเกิดขึ้นได้
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- อากาศร้อน
- สภาพร่างกายที่เหนื่อยล้า
- การขาดการออกกำลังกาย
- ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- แสง เช่น แสงแดด แสงสว่าง จากจอคอมพิวเตอร์
- กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นน้ำมันก๊าด หรือกลิ่นสารเคมี
- มลพิษทางเสียง เช่น เสียงดัง
- ภาวะเครียดหรือความวิตกกังวล
คำแนะนำการป้องกันไมเกรนในฤดูร้อน
หากมีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอกในช่วงฤดูร้อน อาจพกรั่มและใส่แว่นกันแดด หรืออาจพกผ้าเย็นติดตัวเพื่อเช็ดใบหน้า ต้นคอ บ่า และใหล่ เพื่อบรรเทาอุณภูมิความร้อนภายในร่างกายให้ลดลง
ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2564
ที่มา : รศ. ดร. นพ.ธนินทร์ อัศววิเชียรจินดา