โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ทำความรู้จักยุงร้าย พาหะนำโรค

ที่มา : ศ. ดร. นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร

ข้อมูล ณ วันที่ 23 เมษายน 2565 ฝ่ายปรสิตวิทยา

“ยุง” ในประเทศไทยพบ 3 กลุ่ม หลัก ๆ ได้แก่

ยุงลาย

มักวางไข่ในกาชนะที่ชั้น ชอบอาศัยอยู่ในบ้านหรือรอบ ๆ บ้าน เป็นพาหะสำคัญของไข้เลือดออก ไซิกา และไข้ปวดข้อยุงลายหรือชิกุนคุนย่า

ยุงรำคาญ

มักเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำสกปรกเป็นพาหะนำโรคจากสัตว์มาสู่คน เช่น โรคไข้สมองอักเสบ โรคพยาธิฟิลาเรีย

ยุงก้นปล่อง

มักพบในป่า พาหะนำโรคมาลาเรียหรือที่เรียกว่าไข้ป่า

ป้องกันโรคจากยุงได้อย่างไร

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
  • ระบายน้ำไม่ให้เกิดน้ำขัง เพื่อลดประชากรยุง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพการไล่ยุงได้ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง

หากอยู่ในพื้นที่มียุงระบาด และมีอาการไข้สูง 3 – 4 วัน พึงสงสัยว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากยุงได้ รวมถึง หากกลับจากท่องเที่ยวป่าและมีไข้สูง หนาวสั่น ควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมินการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ข้อมูล ณ วันที่ 23 เมษายน 2565
ที่มา : ศ. ดร. นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร
ฝ่ายปรสิตวิทยา

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์