เด็กสามารถติดโรคโควิด-19 ได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ซึ่งมักติดเชื้อมาจากคนใกล้ชิด โดยเฉพาะคนในครอบครัว ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีในประเทศไทย ยังไม่สามารถใช้ได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อในเด็ก ครอบครัวต้องมีการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ดูแลเด็กเสี่ยงติดเชื้อและเด็กติดเชื้อโรคโควิด- 19 ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดที่คลอดจากมารดาติดเชื้อ จนถึงเด็กอายุ 15 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86 ของเด็กติดเชื้อทั้งหมด) ติดเชื้อจากคนในครอบครัว ส่วนใหญ่มีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไปเด็กที่มีอาการรุนแรง มักเป็นเด็กที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ
การป้องการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในเด็ก
เด็กอายุมากกว่า 2 ปี สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ และเน้นให้อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ต้องให้คนรอบข้างสวมหน้ากากอนามัยอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการเจ็บป่วย ควรหลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิดกับเด็ก
การป้องกันเด็กติดเชื้อโรคโควิด-19 แUบ Cocoon strategy (ฉีดวัคซีนให้คนรอบข้าง)
เนื่องจากขณะนี้ไม่สามารถฉีดวัคซีนในเด็กได้ จึงมีความจำเป็นต้องฉีดให้กับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว หรือคนรอบข้างคนอื่น ๆ เช่น ครูพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อที่จะลดโอกาสติดเชื้อ และแพร่กระจายเชื้อมาสู่เด็ก
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-1 เป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนในครอบครัว และสังคม เพราะจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ โดยจะต้องฉีดให้ครอบคลุมประชาชนให้มากที่สุด เพื่อหยุดยั้งการระบาด การกลายพันธุ์ และลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2564
ที่มา : อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล